DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2449
|
Title: | บทบาทการเป็นตัวแปรคั่นกลางของสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตำแหน่ง ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์การกับการปฏิบัติงาน ประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ |
Other Titles: | Mediation Role of Core and Specific Competencies on Relationship between Organizational factors and Educational Quality Assurance of Rajabhat Universities in Southern Region |
Authors: | โสภิตา, ยังเจ็ก อิศรัฏฐ์, รินไธสง |
Keywords: | สมรรถนะหลัก สมรรถนะเฉพาะตำแหน่ง ปัจจัยองค์การ การปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษา ตัวแปรคั่นกลาง |
Issue Date: | 30-Aug-2564 |
Publisher: | โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง |
Citation: | โสภิตา ยังเจ๊ก และอิศรัฏฐ์ รินไธสง. (2564, พฤษภาคม – สิงหาคม). บทบาทการเป็นตัวแปรคั่นกลางของสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตำแหน่ง ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์การกับการปฏิบัติงาน ประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(2), 115-127. |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นตัวแปรคั่นกลางของสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์การกับการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 474 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้หน่วยมหาวิทยาลัย 5 ราชภัฏกลุ่มภาคใต้เป็นหน่วยในการสุ่ม แบบการวิจัยที่ใช้เป็นวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Method) เพื่อตรวจสอบบทบาทการเป็นตัวแปรคั่นกลางของสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์การกับการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) โดยการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการเป็นตัวแปรคั่นกลางของสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ พบว่าทั้งสองตัวแปรมีบทบาทการเป็นตัวแปรคั่นกลางบางส่วน (partial mediation) เนื่องจากทั้งตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (LS) การมีส่วนร่วม (PC) และการจัดการขององค์การ (OG) นอกจากจะส่งผลทางอ้อมผ่านสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติแล้วยังส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติงานประกันคุณภาพ จึงกล่าวได้ว่าสมรรถนะเฉพาะเป็นตัวแปรสำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วม และการจัดการองค์การไปยังการปฏิบัติงานประกันคุณภาพมากกว่าสมรรถนะหลัก แต่ข้อสรุปนี้ไม่ได้หมายความว่าสมรรถนะหลักไม่สำคัญ เพียงแต่สำคัญน้อยกว่าเท่านั้น |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2449 |
ISSN: | 1960-8735 (print) 2651-1223 (online) |
Appears in Collections: | วารสาร
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|