DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2443

Title: การศึกษาระดับความพึงพอใจการให้บริการระบบการขนส่งสาธารณะ ระหว่างเมืองสำหรับผู้โดยสารสูงวัยในประเทศไทย
Other Titles: A study of preference levels of services of intercity public transport system for elderly passengers in Thailand
Authors: ศศิธร อิสโร
Keywords: สิ่งอำนวยความสะดวก
ระบบขนส่งสาธารณะระหว่างเมือง
ผู้สูงอายุ
Facilities
inter-city public transport system
the elderly
Issue Date: 30-Apr-2564
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: ศศิธร อิสโร. (2564, มกราคม – เมษายน). การศึกษาระดับความพึงพอใจการให้บริการระบบการขนส่งสาธารณะ ระหว่างเมืองสำหรับผู้โดยสารสูงวัยในประเทศไทย. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(1), 268-282.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบระบบการเชื่อมต่อและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในการเลือกใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะระหว่างเมืองในพื้นที่ศึกษา เพื่อค้นหาปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ผู้โดยสารสูงอายุต้องการให้มีการดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะระหว่างเมือง และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมแก่ผู้โดยสารสูงอายุที่เลือกเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะระหว่างเมือง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการเก็บข้อมูลในระบบการขนส่งรถโดยสารสาธารณะ เครื่องบิน และรถไฟ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ในการหาค่าความพึงพอใจและความสำคัญของปัจจัยที่มีความสำคัญเพื่อช่วยให้การเดินทางของผู้สูงอายุและผู้พิการมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น มีผลการวิจัยดังนี้ เมื่อตรวจสอบระบบการเชื่อมต่อพบว่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีระบบการเชื่อมต่อและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในการเลือกใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะระหว่างเมือง ไม่ครบถ้วน และมีอุปกรณ์เหล่านี้เพียงส่วนน้อยในบางระบบการขนส่งเท่านั้น ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยผู้โดยสารในการเดินทางจากการสอบถามพบว่า ผู้โดยสารต้องการรถโดยสารสาธารณะ พบว่า ปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกได้แก่ ระบบขนส่งสาธารณะควรให้บริการจากสถานีขนส่งเข้าตัวเมือง มีความสำคัญระดับมากที่สุด ( = 4.45) ผู้โดยสารเครื่องบิน พบว่า ปัจจัยที่สำคัญบันไดและราวจับสำหรับผู้สูงอายุมีความสำคัญระดับมากที่สุด ( = 4.76) และผู้โดยสารรถไฟ พบว่า ปัจจัยที่สำคัญ อันดับแรกได้แก่ ราวกันตก ผนังกันตก กั้นระหว่างชนาชาลาสถานีรถไฟ มีความสำคัญระดับมากที่สุด ( = 4.50)
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2443
ISSN: 1960-8735 (print)
2651-1223 (online)
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
239070-ไฟล์บทความ-889465-1-10-20210430.pdf532.85 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback