DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2430

Title: ภูมิปัญญานิเวศวิถีป่าประนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Local ecological knowledge of Pra forest (Elateriospermum tapas) in Nobphitum District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: จรุงใจ, มนต์เลี้ยง
จุฑามาศ, ศุภพันธ์
จุติพร, อัศวโสวรรณ
ธวัชชัย, คงนุ่ม
พงศ์ธร, บรรณโศภิษฐ์
พิมพ์ลภัส, จิตต์ธรรม
สาวิมล, รอดเจริญ
สุชาดา, จิตกล้า
สุดารัตน์, แก้วกับทอง
Keywords: ภูมิปัญญานิเวศวิถี
ป่าประ
Issue Date: 31-Aug-2563
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: จรุงใจ มนต์เลี้ยง, จุฑามาศ ศุภพันธ์, จุติพร อัศวโสวรรณ, ธวัชชัย คงนุ่ม, พงศ์ธร บรรณโศภิษฐ์, พิมพ์ลภัส จิตต์ธรรม, สาวิมล รอดเจริญ, สุชาดา จิตกล้า และสุดารัตน์ แก้วกับทอง. (2563, พฤษภาคม – สิงหาคม) ภูมิปัญญานิเวศวิถีป่าประนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 12(2), 53-70.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญานิเวศทองถิ่นของการใช้ประโยชน์จากป่าประในวิถีของการใช้ประโยชน์ วิถีของวัฒนธรรมและวิถีของการอนุรักษ์ ในพื้นที่ป่าประนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) จัดทำข้อตกลงชุมชนในการใช้ประโยชน์จากป่าประในพื้นที่ป่าประนบพิตำอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ศึกษา คือ พื้นที่ป่าประที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน ได้แก่ พื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านสวนปรางค์ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยตง หมู่ที่ 8 บ้านทับน้ำเต้า และหมู่ที่ 9 บ้านห้วยแห้ง ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการสัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากป่าประและการสนทนากลุ่มเพื่อจัดทำข้อตกลงชุมชนในการใช้ประโยชน์ร่วมกันในป่าประนบพิตำ การเก็บรวบรวมขอมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณจากชาวบานที่ใช้ประโยชน์จากป่าประในพื้นที่อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 66 คน โดยใชการสุมตัวอยางแบบบังเอิญ และการจัดทำข้อตกลงชุมชนในการใช้ประโยชน์ร่วมกันในป่าประโดยการสนทนากลุ่ม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือผู้นำชุมชน หัวหน้าและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน ตัวแทนชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์ รวม 30 คน ขอมูลทุติยภูมิ (Secondary data) รวบรวมจากเอกสารตาง ๆ ที่เกี่ยวของ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาวิถีของการใช้ประโยชน์จากป่าประด้านอาหาร ได้แก่ การคั่ว ดอง ต้ม ทอด ฉาบ และประกอบอาหาร เมนูยอดนิยมของชุมชนคือ แกงส้มลูกประ และน้ำพริกลูกประ ภูมิปัญญาวิถีของการใช้ประโยชน์จากป่าประด้านเครื่องนุ่งห่ม คือการใช้ใบประสดทำสีย้อมผ้า โดยให้สีเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม สีชมพูอมแดง และสีอิฐ ภูมิปัญญาวิถีของการใช้ประโยชน์จากป่าประด้านของเล่นคือ การทำลูกหวือ ภูมิปัญญาวิถีของพิธีกรรมคือการเปิดป่าประ เพื่อบวงสรวงเจ้าที่หรือเทวาอารักษ์ที่ดูแลป่าประและขับไล่สัตว์ร้ายโดยมีต้นประขวัญ คือต้นประในพิธีกรรม 1 ต้นเป็นตัวแทนแห่งความเป็นศิริมงคล การมีพิธีกรรมชี้ให้เห็นถึงคุณธรรม จริยธรรมในด้านความเคารพต่อผู้ที่มีบุญคุณที่ทำให้ได้มีลูกประกิน แม้จะไม่เห็นตัวตนแต่เป็นเรื่องของความเชื่อและจิตวิญญาณที่ทำแล้วทำให้เกิดความสุขใจและมั่นใจ ภูมิปัญญาวิถีของการอนุรักษ์ป่าประคือการที่พื้นที่ป่าประได้รับการดูแลและปกป้องมายาวนานจากการเคยเป็นพื้นที่ฐานปฏิบัติการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีการสืบทอดข้อตกลงในการจัดการทรัพยากร ห้ามโค่นและรานต้นประ เหรียง เนียง นาง สะตอ การมีพิธีบวชป่า การปลูกขยายพันธุ์ และการมีส่วนร่วมในการจัดการวางแผนร่วมกับองค์กรท้องถิ่น โดยการจัดทำข้อตกลงการใช้ประโยชน์จากป่าประในพื้นที่ป่าประนบพิตำ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ความอุดมสมบูรณ์ของป่าประนบพิตำ จึงเกิดจากจิตสำนึกของบุคคลในชุมชนรวมทั้งการร่วมดูแลป่าประกันเองของคนในชุมชน
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2430
ISSN: 1960-8735 (print)
2651-1223 (online)
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
241929-ไฟล์บทความ-853027-1-10-20200831.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback