DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2390

Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541: ศึกษาเฉพาะการใช้แรงงานหญิงในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Legal Issues Concerning the Enforcement of the Labor Protection Act BE 2541: Study on the Use of Female Workers in Amphoe Mueang Nakhon Si Thammarat Nakhon Sri Thammarat
Authors: ณิชชา ยิ่งนคร
Keywords: พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
การใช้แรงงานหญิง
แรงงานหญิง
Labor Protection Act 1998
female workers
Issue Date: 24-Jun-2562
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: ณิชชา ยิ่งนคร. (2562, พฤษภาคม – สิงหาคม). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541: ศึกษาเฉพาะการใช้แรงงานหญิงในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(2), 156-167.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการใช้แรงงานหญิงว่าได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อย่างแท้จริงหรือไม่ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แรงงานหญิงในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาหาแนวทางการให้ความคุ้มครองขั้นต่ำในการใช้แรงงานหญิงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางพิจารณาแก้ไขกฎหมายและมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่แรงงานหญิง ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยครั้งนี้บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานหญิงในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลของข้อมูลตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา (Descriptive) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อแสวงหาข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย อันจะนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในเรื่องการใช้แรงงานหญิง ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. ควรแก้ไขหลักเกณฑ์ในเรื่องของการให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิง โดยเท่าเทียมกันในการจ้างงานให้ชัดเจนในความหมายของการจ้างงานว่าครอบคลุมในเรื่องใดบ้าง 2. ควรแก้ไขบัญญัติในมาตรา 15 และมาตรา 53 ที่ทับซ้อนกันอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันให้รวมเป็นบทบัญญัติเดียวกันโดยบัญญัติให้มาตรา 15 ในเรื่องการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในการจ้างงานให้ครอบคลุมถึงในเรื่องของการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างเท่าเทียมกันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิงในงานที่มีลักษณะและคุณภาพเท่ากันรวมถึงในงานที่ปริมาณเท่ากันตามมาตรา 53 ด้วย 3. ควรมีการบัญญัติให้ชัดเจนในหลักเกณฑ์ของมาตรา 15 ที่บัญญัติว่า “เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้” ควรจะกำหนดว่าลักษณะหรือสภาพของงานประเภทใดที่ไม่สามารถปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียม 4. ควรแก้ไขและกำหนดให้ชัดเจนในเรื่องของข้อยกเว้นในงานที่ห้ามลูกจ้างหญิงทำงานหมายถึงงานประเภทใด 5. ควรมีการแก้ไขในเรื่องของการให้อำนาจแก่พนักงานตรวจแรงงานกำหนดให้อำนาจแก่พนักงานตรวจแรงานโดยตรงในการมีอำนาจพิจารณาและออกคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงาน หรือลดชั่วโมงทำงาน โดยไม่ต้องรายงานไปยังอธิบดีเพื่อรอคำสั่งเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการให้ความคุ้มครองแรงงานหญิง 6. ควรมีการกำหนดความหมายในเรื่องของการลาเพื่อการคลอดบุตรบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 7. ควรมีการกำหนดในเรื่องของสิทธิลาคลอดโดยกำหนดให้เป็นการบังคับลาหลัง ควรมีการกำหนดให้ลูกจ้างหญิงสามารถลาเพื่อไปดูแลบุตรได้ โดยลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อการดูแลบุตร หรือหยุดพักเพื่อให้นมบุตรระหว่างเวลาทำงานได้วันละ 2 ครั้งอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที ซึ่งรวมแล้วไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยถือว่าการลาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของชั่วโมงทำงาน 8. ในเรื่องของการห้ามลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานในมาตรา 39 ควรมีการบัญญัติในเรื่องของหากได้รับการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าลักษณะของงานจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อครรภ์ของลูกจ้างหญิงมีครรภ์ก็สามารถยืดหยุ่นให้ลูกจ้างมีครรภ์ทำได้ เป็นต้น 9. ควรมีการเผยแพร่ให้ความรู้แก่แรงงานหญิงให้ได้รับความรู้ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของตนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 10. ควรมีการแก้ไขให้ครอบคลุมรวมถึงการกระทำการล่วงเกินทางเพศระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2390
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
170332-##default.genres.article##-597243-2-10-20190625.pdf331.87 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback