DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2381

Title: ผลผลิตและคุณสมบัติของแป้งสาคูระยะต่าง ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Yields and Properties of Sago Flour (Metroxylon sagu Rottb.) on the Different Stages of Sago Palm Tree in Nakhon Si Thammarat Province
Authors: ฉัตรชัย สังข์ผุด
จีราภรณ์ สังข์ผุด
Keywords: ผลผลิต
แป้งสาคู
คุณสมบัติ
Issue Date: 30-Jun-2562
Publisher: โรงพิมพ์อักษรการพิมพ์
Citation: จีราภรณ์ สังข์ผุด และฉัตรชัย สังข์ผุด. (2562, มกราคม-มิถุนายน). ผลผลิตและคุณสมบัติของแป้งสาคูระยะต่าง ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชชา, 38 (1), 106-119
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของต้นสาคู ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคใต้ของประเทศไทย โดยศึกษาในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโต มีการวัดขนาดน้ำหนักของต้นสาคู ผลผลิตแป้งคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและฤทธิ์ทางชีวภาพของแป้งสาคูที่เจริญต่างกัน 3 ระยะคือ ระยะ 1 (อายุ 6-7 ปี) ระยะ2 (ก่อนออกดอกอายุ 8-9 ปี) และระยะ 3 (ออกดอกเขากวางอายุมากกว่า 9 ปี) ผลการวิจัยพบว่าต้นสาคูระยะ 1 2 และ 3 มีน้ำหนักทั้งต้น654.45±72.81780.70±92.53และ922.00±152.62 กิโลกรัมต่อต้นคำนวณเป็นน้ำหนักเนื้อ 525.46±55.49628.40±34.50และ 714.61±40.53 กิโลกรัมต่อต้น ตามลำดับ เมื่อนำมาสกัดแป้งพบว่า ผลผลิตแป้งสาคูระยะ 3 มีค่าสูงสุดร้อยละ19.77±0.68 ของน้ำหนักเนื้อ ผลการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของแป้งสาคูพบว่าแป้งสาคูระยะ 2 มีปริมาณฟีนอลิกสูงสุด133.57±22.89 มิลลิกรัม GAE/100 กรัมมีฤทธิ์การยับยั้งอนุมูลอิสระ (%DPPH radical scavenging activity) ที่ระดับความเข้มข้น100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตรเท่ากับร้อยละ 62.60±11.21 ค่าสี (CIE L*, a*, b*) มีค่าความสว่าง (L*) ในช่วง 89.12-90.17 ค่า a* ในช่วง 1.49-4.30 และค่า b* ในช่วง 6.35-7.36 แป้งสาคูระยะ 1 และ 2 มีลักษณะสีขาวนวล ส่วนแป้งสาคูระยะ 3 มีสีขาวอมชมพูเล็กน้อย ผลการตรวจสอบรูปร่างและขนาดของเม็ดแป้งสาคูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิดฟิลด์อีมิสชันพบว่า แป้งมีลักษณะพื้นผิวเรียบมีรูปร่างของเม็ดแป้งเป็นรูปไข่เม็ดแป้งระยะ 1 2 และ 3 มีขนาด 12-42 6-37 และ15-47ไมโครเมตรตามลำดับ งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการเก็บเกี่ยวแป้งสาคูควรเลือกใช้ต้นสาคูระยะ 2-3 ผลผลิตแป้งสาคูสูง สารประกอบฟีโนลิก และความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอางและอาหารทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2381
ISSN: 0125-2380
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
171737-Article Text-607642-1-10-20190630.pdf965.36 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback