DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2376

Title: รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
Other Titles: A Model of a Learning Organization within a World-Class Standard School in the Secondary Educational Service Area 12
Authors: สุรัสวดี บุญติด
วีระยุทธ ชาตะกาญน์
วิโรจน์ พรหมสุด
Keywords: รูปแบบ
การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล
Issue Date: 25-Apr-2562
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: วิโรจน์ พรหมสุด, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ และสุรัสวดี บุญติด. (2562, มกราคม - เมษายน). รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(1), 154-165
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 12 2)สร้างรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 12 และ 3)ตรวจสอบรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 12 โดยใช้ระเบียบวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ 1.ศึกษาสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 12 โดยการศึกษาและสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัย แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 3 คน จากนั้นนำผลการสังเคราะห์และผลการสัมภาษณ์มาสร้างเครื่องมือ โดยการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 53 คน 2. สร้างรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 12 โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมร่วมกับผลการสังเคราะห์ข้อมูลปรากฏการณ์ และทำการร่างรูปแบบ และ 3. ตรวจสอบเพื่อรับรองรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 12 ด้วยการจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 9 คน และสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 5 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) การเป็นบุคคลที่รอบรู้ (Personal Mastery) และการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ (Creative Production) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2. รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การปรับเปลี่ยนองค์การ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การเป็นบุคคลที่รอบรู้ และการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 3. การตรวจสอบเพื่อรับรองรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 พบว่า รูปแบบมีความถูกต้อง ครอบคลุม เหมาะสม มีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2376
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
111364.pdf261.87 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback