DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2370

Title: การบริหารงบประมาณโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
Other Titles: School- Based Budget Administration under The Office of Krabi Primary Education Area Office
Authors: เชิงชาย อรุณแสง
อรุณ จุติผล
ไมตรี จันทรา
Keywords: การบริหาร
งบประมาณ
โรงเรียน
Issue Date: 20-Apr-2562
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: เชิงชาย อรุณแสง, ไมตรี จันทรา, และอรุณ จุติผล . (2562, มกราคม - เมษายน). การบริหารงบประมาณโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(1), 82-90
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติของการบริหารงบประมาณโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จาก 130 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน โดยแบ่งออกเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนละ 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนละ 1 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนละ 1 คน ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 390 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติของการบริหารงบประมาณโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดทำงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือด้านการอนุมัติงบประมาณ ด้านการประเมินงบประมาณ ส่วนด้านการบริหารงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งอธิบายได้ดังนี้ 1.1 ด้านการจัดทำงบประมาณ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์มีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ยุทธศาสตร์ของโรงเรียนนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ระยะสั้นและระยะยาว ส่วนโรงเรียนสามารถประมาณการรายรับที่ได้รับจากเงินนอกงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 1.2 ด้านการอนุมัติงบประมาณ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า โรงเรียนจัดให้มีการประชุมทั่วไปเพื่อพิจารณางบประมาณของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ เอกสารงบประมาณของโรงเรียนได้แสดงแผนงาน / โครงการ รายรับ รายจ่ายครบถ้วน มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติให้ทุกคนได้รับทราบ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 1.3 ด้านการบริหารงบประมาณ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การจัดทำข้อตกลงผลการปฏิบัติงานทำให้โรงเรียนมีความตระหนักในความรับผิดชอบต่อการใช้จ่ายงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียนมีระบบการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณต่อผู้บริหารเป็นระยะ ๆ เช่น รายเดือน รายสัปดาห์ รายไตรมาส และข้อตกลงผลการปฏิบัติงานมีการกำหนดสิ่งจูงใจที่จะทำให้โรงเรียนใช้จ่ายงบประมาณให้บรรลุตามข้อตกลง ส่วนโรงเรียนนำเสนอการปรับเปลี่ยนรายรับ – รายจ่าย ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 1.4 ด้านการประเมินงบประมาณ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีการเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยกับโรงเรียนในระดับเดียวกัน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียนใช้ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยในการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณได้มีประสิทธิภาพ ส่วนมีการคิดต้นทุนผลผลิตที่สำคัญ เช่น ค่าใช้จ่ายต่อหัว เงินเดือนครูต่อหัว มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2370
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
155684-Article Text-533649-2-10-20190420.pdf294.65 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback