DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2348

Title: ขบวนองค์กรชุมชนกับการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรในภาคใต้ ภายใต้ชุดโครงการการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างสมดุลยั่งยืน
Other Titles: The Formation of Community Organizations in Managing Agricultural Areas in the South of Thailand, part of the Food Security and Balanced Sustainable Agricultural Area Management Project
Authors: อุดมศักดิ์ เดโชชัย
สุรินทร์ ทองทศ
Keywords: ขบวนองค์กรชุมชน
การจัดการพื้นที่ทางการเกษตร
Issue Date: 29-Nov-2561
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: สุรินทร์ ทองทศ, อุดมศักดิ์ เดโชชัย. (2561, กรกฎาคม ถึง ธันวาคม). ขบวนองค์กรชุมชนกับการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรในภาคใต้ ภายใต้ชุดโครงการการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างสมดุลยั่งยืน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(2), 29-39
Abstract: งานวิจัยเรื่อง ขบวนองค์กรชุมชนกับการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรในภาคใต้ ภายใต้ชุดโครงการการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างสมดุลยั่งยืน นั้น คณะผู้วิจัยได้เลือก กรณีศึกษา ภาพรวมของขบวนองค์กรชุมชนกับการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดพัทลุงโดยยกตัวอย่าง การจัดการพื้นที่ทางการเกษตรโดยขบวนองค์กรชุมชน ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง บริบทของขบวนองค์กรชุมชนรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนในจังหวัดพัทลุงเพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตร ที่สมดุล ยั่งยืนให้กับชุมชนอื่นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุงเมื่อพิจารณาพบว่า มีรูปแบบ การจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุงในลักษณะการแบ่งโซนพื้นที่ มี 3 ลักษณะ หรือ 3 โซนด้วยกันคือ 1) โซนภูเขาพื้นที่ราบสูงหรือเรียกว่า “โซนป่า” 2) โซนนา 3) โซนทะเล รูปแบบการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรของขบวนองค์กรชุมชนตำบลควนมะพร้าว มีการใช้ขบวนองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนงานทางการเกษตรของพื้นที่ตำบล ซึ่งจะพบเห็นเกษตรกรใช้พื้นที่ทางการเกษตร คือ 1) รูปแบบการปลูกพืชผสมผสาน 2) รูปแบบการปลูกพืชทางการเกษตร ควบคู่กับการเลี้ยงปศุสัตว์ และสำหรับการประมงนั้นพบว่าจะเป็นการทำกันในบ่อเพาะเลี้ยงและตามแหล่งน้ำ นอกจากนั้นยังพบอีกว่า อย่างน้อยมีปัจจัย 2 ประการที่นำไปสู่การเรียนรู้เพื่อการปรับตัวของขบวนองค์กรชุมชนคือ1) ปัจจัยภายในของขบวนองค์กรชุมชน ซึ่งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ด้านศักยภาพ ขีดความสามารถของผู้นำ ด้านศักยภาพในการบริหารจัดการทุนชุมชนทั้งมิติกิจกรรมและเชิงพื้นที่ ด้านการประสานงาน การต่อรองกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น2) ปัจจัยภายนอกที่มากระทบต่อขบวนองค์กรชุมชนซึ่งปัจจัยดังกล่าวที่ว่านี้ อยู่เหนือการควบคุมหรืออยากต่อการควบคุมของขบวนองค์กรชุมชน เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก กระบวนการโลกาภิวัตน์ นโยบายรัฐและหน่วยงาน เป็นต้น สรุปได้ว่าขบวนองค์กรชุมชนทั้ง 2 พื้นที่ดังกล่าว มีบทบาทสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่ทางการเกษตร ดำเนินกิจกรรมภาคการเกษตรและใช้กลุ่มองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างหลากหลาย เชื่อมโยงเกื้อกูลกันเต็มพื้นที่ทั้งในกระบวนการผลิต การแปรรูปผลผลิตและการจำหน่าย กล่าวได้ว่าแนวโน้มขบวนองค์กรชุมชนกำลังก้าวไปสู่การเป็น “ผู้ประกอบการชุมชน” เต็มพื้นที่ โดยการนำเอาทุนชุมชน ทุนภาคเกษตรของตนเองมาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มในลักษณะของวิสาหกิจชุมชน
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2348
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
112054-Article Text-432946-1-10-20181129.pdf277.8 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback