DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2308

Title: การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: The Development of Interactive e-Learning Courses Through Social networks and Cloud Learning in Career and Technology Group for Grade 6 Students
Authors: จิราพร สังข์เขี้ยว
ประกอบ ใจมั่น
กรวรรณ สืบสม
Keywords: บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
แบบปฏิสัมพันธ์
เครือข่ายสังคม
คลาวด์เลิร์นนิง
Issue Date: 28-Dec-2560
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: กรวรรณ สืบสม, จิราพร สังข์เขี้ยว, ประกอบ ใจมั่น. (2561, เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(1), 82-91
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง ประเมินประสิทธิผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง วัดความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานคือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคอกช้าง จำนวน 32 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนและแบบวัดความคงทนทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละการหาค่าเฉลี่ย (เอ็กบาร์) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test dependent samples)ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิงกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบดังนี้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบริหารจัดการเรียนการติดต่อสื่อสารการประเมิน บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1\E2) 82.71/81.70 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) 2. ประสิทธิผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิง มีความคงทนในการเรียนรู้หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนทันที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2308
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
134491-Article Text-356046-1-10-20180715.pdf369.97 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback