DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2306

Title: ศักยภาพการท่องเที่ยวตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: The Tourism Potential in Thamyai Sub-district, Thungsong District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: ปุณยวีร์, ศรีรัตน์
ภฤศสร ฤทธิมนตรี, ซีมิค
ศราวัสดี, นวกัณห์วรกุล
ขวัญฤทัย, ยึดมั่น
Keywords: ทรัพยากรการท่องเที่ยว
ศักยภาพการท่องเที่ยว
แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยว
Issue Date: 28-Sep-2561
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: ขวัญฤทัย ยึดมั่น, ปุณยวีร์ ศรีรัตน์, ภฤศสร ฤทธิมนตรี ซีมิค, ศราวัสดี นวกัณห์วรกุล. (2561, เดือนมิถุนายน ถึง กันยายน). ศักยภาพการท่องเที่ยวตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(ฉบับพิเศษ), 256-269
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยว และแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะผู้วิจัยทบทวนเอกสารต่างๆ ทำการสำรวจและศึกษาข้อมูลทรัพยากรการท่องเที่ยว และประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวโดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว เครื่องมือจับพิกัดดาวเทียม (GPS) แบบประเมินศักยภาพการท่องเที่ยว และการประชุมกลุ่มย่อย ผลการศึกษา พบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวในตำบลถ้าใหญ่แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ วัดถ้ำใหญ่ สำนักสงฆ์ถ้ำพระหอ (2) การเกษตร ได้แก่ บ้านตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง (3) ธรรมชาติ ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านวังไทร (ถ้ำพระหอ) น้ำตกโยง น้ำตกปลิว น้ำตกวังปริง และถ้ำใหญ่ และ (4) วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี และกิจกรรม ได้แก่ ศูนย์พัฒนาการแพทย์แผนไทยบ้านช่องเขา กลุ่มจักสานจากเส้นพลาสติกและกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าเวียงทอง ขณะที่ศักยภาพการท่องเที่ยวตำบลถ้ำใหญ่ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.20 (ปานกลาง) ด้านที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย 3.38, สูง) รองลงมา ได้แก่ ด้านพื้นที่ (ค่าเฉลี่ย 3.28, ปานกลาง) ด้านการจัดการ (ค่าเฉลี่ย 3.07, ปานกลาง) และด้านกิจกรรมและการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย 3.04, ปานกลาง) ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านพื้นที่ควรนำเสนอเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ปรับปรุงถนน ทำป้ายบอกทางที่ต่อเนื่องเป็นระยะ ด้านการจัดการควรพัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว ดูแลและเข้มงวดการใช้งานแหล่งท่องเที่ยว พบปะพูดคุยกันในชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้านกิจกรรมและการเรียนรู้ที่ควรเน้นกิจกรรมที่หลากหลายอาจทำเป็นโปรแกรมทัวร์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยว เน้นสร้างจิตสำนึกร่วมกับชุมชน และด้านการมีส่วนร่วมควรให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และมีการกระจายรายได้ให้ชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2306
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
126580-Article Text-396185-2-10-20180929.pdf315.58 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback