DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2305

Title: การศึกษาการดำรงชีพและการปรับตัวของแรงงานพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Other Titles: Education, livelihoods and adaptation of Burmese migrant workers in Nakhonsithammarat to support ASEAN Community
Authors: เชษฐา มุหะหมัด
ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าววีระพงศ์
Keywords: ประชาคมอาเซียน
การดำรงชีพ
การปรับตัว
Issue Date: 25-Sep-2561
Publisher: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง
Citation: เชษฐา มุหะหมัด, ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าววีระพงศ์. (2561, เดือนมิถุนายน ถึง กันยายน). การศึกษาการดำรงชีพและการปรับตัวของแรงงานพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(ฉบับพิเศษ), 239-250
Abstract: บทความวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการดำรงชีพและการปรับตัวของแรงงานพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการดำรงชีพของแรงงานพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประการที่ 2. คือ การศึกษาการปรับตัวของแรงงานพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ และเลือกพื้นที่แบบเจาะจง โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มแรงงานพม่าที่ทำงานในไซน์งานก่อสร้างในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจงเฉพาะหัวหน้าครัวเรือน และผู้ให้ข้อมูลรองประกอบด้วยกลุ่ม ผู้บริหารมหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน กลุ่มหัวหน้างาน จำนวน 3 คน กลุ่มนักพัฒนาเอกชน (NGO) จำนวน 3 คน โดยมีผลการวิจัยดังนี้จากการศึกษาพบว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนส่งผลต่อการดำรงชีพและการปรับตัวของแรงงานพม่าแรงงานเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำรงชีพ ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สำคัญในภาคการผลิตและการบริการ และแรงงานพม่าเหล่านี้พยายามแสวงหาทางเลือกในการดำรงชีพ และการพยายามที่จะปรับไปสู่การทำงานหลายกิจกรรมในเวลาเดียวกัน (Diversification) ในส่วนของการปรับตัวจะพบว่าแรงงานส่วนใหญ่จะปรับตัวภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการปรับตัวด้านเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ต้องพึ่งพานโยบายและนายจ้างเป็นส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันการปรับตัวด้านสังคมและวัฒนธรรมโดยการพยายามรวมตัวเพื่อสร้างพื้นที่ความสัมพันธ์ทางสังคมผ่านพื้นที่ทางวัฒนธรรมและประเพณี และการพยายามสร้างพื้นที่เพื่อการต่อรองในสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ของรัฐและนายจ้าง
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2305
ISSN: 1960-8735
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
114477-Article Text-394198-3-10-20180929.pdf282.42 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback