DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2295

Title: การพัฒนาน้ำดินหล่อแม่พิมพ์จากดินแดงพื้นบ้านเพื่อผลิตเครื่องเคลือบดินเผาระดับครัวเรือน
Other Titles: The Development of Clay Slip Casting from Red Local Clay for Ceramic Household Production
Authors: ฉัตรชัย, แก้วดี
วิลาวัณย์, จินวรรณ
วีรพล, ปานศรีนวล
Keywords: น้ำดินหล่อแม่พิมพ์
ดินแดงพื้นบ้าน
ระดับครัวเรือน
Issue Date: 1-Jul-2558
Publisher: โรงพิมพ์อักษรการพิมพ์
Citation: ฉัตรชัย แก้วดี, วิลาวัณย์ จินวรรณ, วีรพล ปานศรีนวล. (2558, กรกฏาคม-ธันวาคม).การพัฒนาน้ำดินหล่อแม่พิมพ์จากดินแดงพื้นบ้านเพื่อผลิตเครื่องเคลือบดินเผาระดับครัวเรือน. วารสารวิชชา, 34(2), 27-43
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำดินหล่อแม่พิมพ์จากดินแดงพื้นบ้านให้มีสมบัติเหมาะสมต่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรมระดับครัวเรือน โดยสามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการหล่อในแม่พิมพ์ปลาสเตอร์สำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อผลิตสินค้าของใช้ และของที่ระลึกด้วยวิธีการผลิตของชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมวิธีการใหม่ๆ ให้กับผู้ผลิตสินค้าระดับครัวเรือนในท้องถิ่น และสามารถเตรียมวัตถุดิบ ผลิต เผา และตกแต่งผลิตภัณฑ์ได้ด้วยโดยทำการศึกษากับวัตถุดิบท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยการใช้อัตราส่วนผสมแบบตารางสามเหลี่ยมด้านเท่า (Tri-axial diagram) ระหว่าง ดินแดงทุ่งน้ำเค็ม :ดินขาวบ้านควนคลัง :ทรายน้ำแคบ ร่วมกับสารช่วยการแขวนลอย (Colloid) ได้แก่ โซเดียมซิลิเกต ร้อยละ 0.2 ด้วยการทดสอบสมบัติเนื้อดินหล่อจากดินแดงพื้นบ้านตามมาตรฐานสมบัติผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะเซรามิกชนิดเอิร์ทเทินแวร์ (Earthenware) และทำการทดลองที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส และทดลองเผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนระหว่าง ดินแดงทุ่งน้ำเค็ม : ดินขาวบ้านควนคลัง :ทรายน้ำแคบ มีอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมเท่ากับ 59 : 12 :29 โดยมีลักษณะสีหลังเผาน้ำตาลส้ม ผิวเรียบ ความชื้นก่อนเผาร้อยละ 28.25 การหดตัวก่อนเผาร้อยละ 13.78 การหดตัวหลังเผาร้อยละ 18.30 ความแข็งแรงก่อนเผา 5.12 Kg/cm2 ความแข็งแรงหลังเผา 27.36 Kg/cm2 การดูดซึมน้ำหลังเผา ร้อยละ 16.21 มีความถ่วงจำเพาะ 1.78 ลบ.ซ.ม./กรัม อัตราการไหลของน้ำดิน 47วินาที/ 100 มิลลิกรัม ระยะเวลาการก่อรูปที่ความหนา 4 มิลลิเมตร ใช้เวลา 16 นาที ลักษณะผิวภายในแม่พิมพ์เรียบมากที่สุด ระยะเวลาการถอดออกจากแม่พิมพ์ระดับมากที่สุด (30 นาที) คุณภาพการถอดออกจากแม่พิมพ์ในระดับมากที่สุด และหลังการสอบถามความพึงพอใจผู้ผลิตในเขตพื้นที่บ้านมะยิง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความพึงพอใจต่อเนื้อดินที่ผลิตเป็นเครื่องปั้นดินเผาด้วยวิธีการหล่อแม่พิมพ์ปลาสเตอร์เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51, SD = 0.17)และผู้จำหน่ายสินค้าในเขตพื้นที่บางปู อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.42, SD = 0.22)
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2295
ISSN: 0125-2308
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
94197-Article Text-234076-1-10-20170726.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback