DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วารสาร >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2267

Title: การพัฒนาวิธีวิเคราะห์โลหะหนักในน้ำดื่มของโรงเรียนในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยอุปกรณ์ของไหลจุลภาคบนกระดาษ
Other Titles: Method Development for Determination of Heavy Metals in Drinking Water of Schools in Nakhon Si Thammarat by Paper-Based Microfluidic Devices
Authors: เบญจวรรณ นิลวงค์
สุนิศา เม๊าะสนิ
อาซีซ๊ะห์ ดอเลาะ
Keywords: โลหะ
อุปกรณ์ของไหลจุลภาคบนกระดาษ
น้ำดื่ม
Issue Date: 1-Jan-2559
Publisher: โรงพิมพ์อักษรการพิมพ์
Citation: เบญจวรรณ นิลวงค์, สุนิศา เม๊าะสนิ, อาซีซ๊ะห์ ดอเลาะ. (2559, มกราคม - มิถุนายน). การพัฒนาวิธีวิเคราะห์โลหะหนักในน้ำดื่มของโรงเรียนในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยอุปกรณ์ของไหลจุลภาคบนกระดาษ. วารสารวิชชา, 35(1), 1-12
Abstract: การวิเคราะห์นิกเกิล(II) อะลูมิเนียม(III) และเหล็ก(II) ในน้ำดื่มด้วยอุปกรณ์ของไหลจุลภาคบนกระดาษ อุปกรณ์ที่สร้างโดยการสกรีนด้วยเทียนและออกแบบให้สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วและมีความจำเพาะเจาะจงต่อการวิเคราะห์โลหะทั้งสามชนิด บริเวณตรวจวัดจะเกิดเป็นสารเชิงซ้อนระหว่างนิกเกิล(II) กับ Dimethylglyoxime (DMG) เกิดเป็นสีชมพู ส่วนอะลูมิเนียม(III) จะเกิดเป็นสาร เชิงซ้อนกับสารสกัดกะหล่ำปลีสีม่วงเกิดเป็นสีน้ำเงิน และเหล็ก(II) จะเกิดเป็นสารเชิงซ้อนกับ 1,10-phenanthroline ให้สีส้มแดง หาความเข้มสีเฉลี่ยด้วยโปรแกรม Image J ในโหมดสีเทาภายใต้สภาวะการทดลองที่เหมาะสมกราฟมาตรฐานของนิกเกิล(II) อะลูมิเนียม(III) และเหล็ก(II) อยู่ในช่วงความเข้มข้น 1–15 มิลลิกรัมต่อลิตร(R2=0.9985) 0.05–15 มิลลิกรัมต่อลิตร(R2=0.9952) และ0.005–1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (R2=0.9975) ตามลำดับขีดจำกัดของการตรวจวัด (LOD) ของนิกเกิล(II)อะลูมิเนียม(III)และเหล็ก(II) เท่ากับ 1, 0.05 และ 0.005 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีค่าเบี่ยงเบน-มาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) เท่ากับ 1.0, 1.1 and0.6% (n = 10) ตามลำดับสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการวิเคราะห์นิกเกิล(II) อะลูมิเนียม(III) และเหล็ก(II) ในน้ำดื่มของโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ซึ่งจากการตรวจวัดปริมาณโลหะนิกเกิล(II) อะลูมิเนียม(III) และเหล็ก(II)พบว่าตรวจไม่พบการปนเปื้อนของโลหะทั้งสามชนิดในตัวอย่างน้ำดื่มของโรงเรียนทั้ง 21 แห่ง ให้ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับ (%Recovery) อยู่ในช่วง 84–120% เมื่อเปรียบเทียบวิธีที่พัฒนาขึ้นกับวิธีมาตรฐาน(Inductively coupled plasma optical emission spectrometry, ICP-OES) ทั้งสองวิธีให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (t-test) ดังนั้นวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการวิเคราะห์นิกเกิล(II) อะลูมิเนียม(III)และเหล็ก(II) ที่สามารถทำได้รวดเร็วย่อยสลายได้ดีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ตัวอย่าง
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2267
ISSN: 0125-2380
Appears in Collections:วารสาร

Files in This Item:

File Description SizeFormat
93534-Article Text-232129-1-10-20170719.pdf866.29 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback