DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2180
|
Title: | แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อม : กรณีศึกษาอู่ต่อเรือฮะเฮง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Authors: | วสันต์ ทองมา |
Keywords: | อู่ต่อเรือฮะเฮง -- การบริหาร -- วิจัย |
Issue Date: | 8-Mar-2017 |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อม : กรณีศึกษาอู่ต่อเรือฮะเฮง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาสภาพการบริหารงานของธุรกิจอู่ต่อเรือฮะเฮง และ 2)พัฒนาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของงานฝีมือของอู่ต่อเรือฮะเฮง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ แรงงานฝีมือของอู่ต่อเรือฮะเฮงจำนวน 35 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ ผู้วิจัยดำเนินดารเก็บข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
จากการวิจัยพบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมของอู่ต่อเรือฮะเฮง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น องค์กรมี 1) กระบวนการในการวางแผนบริหารงานเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (y = 3.65 s.D, = 0.84) 2) กระบวนการในการจัดองค์การเฉลี่ยอยูในระดับดี (u = 3.68 s.D.ึ 0.88) 3) กระบวนการในการสั่งงานเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( u=3.68 s.D. = 0.82) 4) กระบวนการในการควบคุมการทำงานเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (u = 3.80 s.D. = 0.73) 5)ความรู้ในการทำงานมีความสำคัญต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน เฉลี่ยอยู่ในระดับดี (u= 3.71 s.D. = 0.74) 6) ขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้ เฉลี่ยอยู่ในระดับดี (u= 4.02 s.D. = 0.81) และ 7) สิ่งกระตุ้นในการทำงานมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้ เฉลียอยู่ในระดับปานกลาง (u = 3.34 s.D. = 0.82) และจากการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญู พบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจำเป็นต้องมีการวางแผนบริหารงานให้เป็นบรรทัดฐานและสามารถเป็นแนวทางเพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จที่คาดหวังได้ในอนาคต เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดการองค์การควรมีการสั่งงานที่ดีเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการแนะนำงานในแต่ละส่วนของแผนกต่าง ๆ ให้กับบุคลากรหรือบุคลากรที่ย้ายเข้ามาในส่วนของแผนกนั้น ๆ ได้ทราบ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของงานว่าเป็นไปตามแผนและเป้าหมาย หรือข้อตกลงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ บุคลากรควรมีความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยการศึกษาจุดด้อย ข้อบกพร่อง และจุดแข็งของตนเองอย่างสม่ำเสอ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน และการปฏิบัติงานของบุคลากรหากขาดพลังหรือแรงจูงใจในการทำงานอาจมีผลทำให้การทำงานเกิดความน่าเบื่อ และควรสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร ซึ่งองค์กรควรสร้างแรงขับหรือสิ่งเร้าเพื่อทำให้เกิดสภาวะการตื่นตัวอยู่เสมอ
ดังนั้นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของธุรกิจขนาดย่อมจึงควรมีการบริหารจัดการองค์กรที่ชัดเจน เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการทำงาน ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการต่อเรือและซ่อมเรือของอู่ต่อเรือฮะเฮง เพื่อให้บุคคลที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการประมงเข้ามาฝช้ยริการเพิ่มมากขึ้น |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2180 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|