DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2154

Title: คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามทรรศนะของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดพัทลุง
Authors: รักชาติ ปานเพชร
Keywords: ผู้บริหารโรงเรียน -- วิจัย
Issue Date: 7-Mar-2017
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามทรรศนผู้บริหารสถานประกอการในจังหวัดพัทลุง โดยจำแนกตามรูปแบบและประเภทของธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานประกอบการณ์จังหวัดพัทลุง หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973,1089 อ้างถึงใน พิชิต ฤทธิ์จรูญ,2554,117-118) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% หรือมีความคลาดเคลื่อน 5% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVAs) ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามทรรศนของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดพัทลุง ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51) 2.ความแตกต่างของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ตามทรรศนะของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดพัทลุง จำแนกตามรูปแบบของธุรกิจ ภาพรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน และจากการทดสอบความแตกต่างของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามทรรศนะของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดพัทลุง ที่ประกอบธุรกิจประเภทต่างกัน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามทรรศนะของผู้บริหารสถานประกอบการจังหวัดพัทลุง ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2154
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf174.9 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback