DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2138

Title: ศึกษากระบวนถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านศิลปะการแสดงหนังตะลุง : รายงานการวิจัย = Study of procedure applying the property of the national film artist Suchart Subsin with the development of local communities in Nakhon Si Thammarat province shodoe over the characters
Authors: สุรินทร์ ทองทศ
Keywords: สุชาติ ทรัพย์สิน
หนังตะลุง -- วิจัย
การพัฒนาชุมชน -- วิจัย
Issue Date: 31-Aug-2016
Abstract: งานวิจัย เรื่อง การศึกษากระบวนการถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์ ศิลปินแห่งชาติกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านศิลปะการแสดงหนังตะลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาจัดการองค์กรความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างยั่งยืน 2) ศึกษากระบวนถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นผ่านตัวละครหนังตะลุง 3) เพื่อการศึกษาการรับรู้แนวคิดด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจากหนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน ผ่านตัวละครหนังตะลุงของผู้ชมหนังตะลุงที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดและการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคสนามที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยกำหนดพื้นที่การทำวิจัย คือ สถานที่ ที่มีการแสดงหนังตะลุงในแต่ละรุ่น ประกอบด้วย หนังตะลุงรุ่นเก่า เช่น หนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์ศิลปินแห่งชาติในจังหวัดนครศรีธรรมราช หนังตะลุงรุ่นกลาง เช่น หนังปฐมอ้ายลูกหมี หนังตะลุงรุ่นใหม่ เช่น หนังน้องปอศ.เคล้าน้อย และเก็บรวบรวมข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นหนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สินอดีตนายหนังตะลุง อดีตลูกคู่หนังตะลุงและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงหนังตะลุงทั้งรุ่นเก่าจนถึงรุ่นปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่าการถ่ายทอดการแสดงหนังตะลุงที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชในหลายประการ ประกอบด้วยการพัฒนาด้านหนังตะลุง เช่น พัฒนาเกี่ยวกับการฟอกหนัง การพัฒนาเกี่ยวกับสีใช้ในการระบายภาพหนังตะลุง การพัฒนาขนาดของตัวหนังตะลุง การพัฒนารูปแบบของตัวหนังตะลุง การพัฒนาด้านโรงหนังตะลุง/จอหนังตะลุงและไฟ การพัฒนาด้านการออกตัวหนังตะลุง/ฉาก/ลีลาการเชิดรูปเล่นเงา การพัฒนาด้านบทหนังตะลุง/บทกลอน/สาระการแสดง การพัฒนาด้านเครื่องดนตรี/เครื่องเสียง การพัฒนาด้านราคาหนังตะลุง การพัฒนาด้านผู้ชม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุง การพัฒนาด้านราคาหนังตะลุง การพัฒนาด้านผู้ชม การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุง การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ของหนังตะลุง การพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกหัดเล่นหนังตะลุงของนายหนังตะลุงในยุคปัจจุบัน กระบวนการในการปรับตัวในการแสดงหนังตะลุงเพื่อให้สามารถดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม ท่ามกลางเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมในปัจจุบัน นายหนังตะลุงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงให้ทันสมัยกับสังคมโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อความอยู่รอดของหนังตะลุงแต่ละคณะ บางคณะก็ได้นำเครื่องดรตรีสมันใหม่เข้ามาเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมหนังตะลุง นอกจากนี้ นายหนังตะลุงยังต้องมีการปรับตัวด้านเวลาในการแสดง บทกลอน ตัวหนังตะลุง ขนาดและรูปแบบของโรงหนังตะลุงขนาดของจอ การนำแสง เสียงที่มีการทันสมัยเข้ามาใช้ การแสดงในรูปแบบคอนเสิร์ต การร้องเพลง การรำวง การถ่านทอดและการการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงทั้งรุ่นเก่า รุ่นกลางและรุ่นใหม่เพื่อให้สามารถดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมในปัจจุบัน ประกอบด้วยรูปแบบการถ่ายทอดวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงของนายตะลุงรุ่นเก่า รุ่นกลางและรุ่นใหม่ โดยการถ่ายทอดและการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุง ของนายหนังตะลุงรุ่นเก่า และรุ่นกลางมีความใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไป แต่จุดร่วมที่ยังมีการดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง คือ การฝากตัวเป็นศิษย์จะต้องผ่านการทดสอบความอดทนจากนายหนังตะลุงหรืออาจารย์ การครอบมือจากอาจารย์ และการไหว้ครูหนังตะลุง และรูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงของนายหนังตะลุงรุ่นเก่า รุ่นกลางและรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยรูปแบบการอนุรักษ์ คือ การจัดตั้งเพื่อพิพิธภัณฑ์บ้านหนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน การจัดตั้งศูนย์ฝึกหนังตะลุงเยาวชน การแสดงออกผ่านพิธีกรรมการไหว้ครูหนังตะลุง การจัดประชันแข่งขันการแสดงหนังตะลุง. The research on “Study of procedure applying the property of the national film artist Suchart Subsin with the development of local communities in Nakhon Si Thammarat province shodoe over the characters.” Is aimed at study the dynamics changing concerning to social and local culture of the shadow puppet performance in Nakhon Si Thammarat province. It has also studied some adaptive processer in between of the current social and cultural change that to be able maintaing their cultural for good. however, this reserch study has played an important role to reveals the current propagation and preevation of both old and new generations of talung shadow puppet performance in order to preseve such a kind of this invaluable culture. This kind of research, using qualitative study and open opportunity for public to be systematically participated in the operration, is a field study research. l, the researcher, have selected the area of reseach study by considering the places that old type, middle type and current type of talung shadow puppets are being still displayed. there are so many talung shadow puppet performers in nakhon si thammarat. the old type is the suchart subsin shadow puppet team (a national the rest are current types, for example, nang nong po saw klow noi shadow puppet team. so far, I also collected research data from the museum of puppet shadow local community. The result of research reveals that transfoms in talung shadow puppet performance in nakhon si thammarat are relevant to the chages of people's life style in so many respects. the change is also up to a transform of puppet materials:changing of leather's making, changing of color using on leather's complexion, changing of shadow puppet's size, changing of shadow puppet's style, changing of shadow puppet's theater, changing of performs step, changing of shadow sound. however, the most impact to shadow puppet performance's survival is the changing of economic (high cost of living ) and progression of information technology. All changing will be affected to the srability of shadow puppet performance. In order to maintain the prestigious traditional arts and cultures in the era of globalization, all Talung shadow puppet performers have to adapt their performance for survival. some have taken modern musical instruments in order to entertain the audienes, whilst the others adjust their puppet's size, theater, screenplay, light and sound. furthermore, they also include singing, dancing and forms of the poem in concert style. Under the situations of dilemma, every generation of talung shadow puppet performers, so called the old type-the middle type-and the current type, nowadays, everyting has been changed except the ceremony of disciple adoption is still being existed. Before the disciple adoption ceremony, all of the disciples have to prove their endurace in every way they could in order to win the acceptance of talung shadow puppet performers or teachers. The acculturative formations of shadow puppet heritage by suchart subin are included by these stages:built of a local museum, built a youth training center, setup the ritual of worship ceremonies, and making the contest of Talung shadow puppet championships.
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2138
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf174.76 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback