DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2135

Title: การพัฒนาการรับรู้สารสนเทศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 : รายงานการวิจัย = Information perception development to learing encouragement for children with special needs of Nakhon Si Thammarat primary educational service area office 2
Authors: สุธิดา ไทยกลาง
Keywords: เด็กพิเศษ -- การอ่าน -- วิจัย
Issue Date: 31-Aug-2016
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2.ทราบปัญหาการรับรู้สารสนเทศของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติ 3.โดยนำข้อมูลพฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศและปัญหาไปกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาการรับรู้สารสนเทศของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 4.จากนั้นนำแนวทางแก้ไขปัญหาพัฒนาเป็นรูปแบบการรับรู้สารสนเทศให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและเก็บข้อมูลจากบุคลากรในโรงเรียนนั้นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันดังนี้ ครูผู้ปฏิบัติการสอน/ครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง, ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, ครูผู้สอนในโรงเรียนแกนนำ และนักศึกษานิเทศก์เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมครั้งนี้ได้ศึกษาเอกสารชุดคู่มือการจัดการเรียนการสอนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนร่วม ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.พฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ประเภท ประเภทบกพร่องทางการเห็น ประเภทบกพร่องทางการได้ยิน ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ประเภทออทิสติก และประเภทพิการซ้ำซ้อน สำหรับประเภทบกพร่องทางพฤติกรรม มีพฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง 2.ปัญหาที่ส่งผลต่อการับรู้สารสนเทศของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติ จากการสำรวจพบว่าปัจจุบันครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการจัดทำโครงการและแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล การซึ่งส่งผลต่อการรับรู้สารสนเทศของเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วม ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุตรหลานบ้างเพียงบางเรื่อง นอกจากมีปัญหาตามประเภทความบกพร่อง 3. กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการรับรู้สารสนเทศของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่าโรงเรียนมีการจัดเตรียมความพร้อมต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้/ความสามารถของครู ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วม ผู้บริหารโรงเรียนควรให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนร่วม ควรสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสังเกตพฤติกรรมของเด็กและความเข้าเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมให้แก่ผู้ปกครอง จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศ 4. การพัฒนารูปแบบการรับรู้สารสนเทศให้แก่เด็กที่ทีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า ควรมีการจัดรูปแบบการเรียนร่วมให้เหมาะสมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทควบคู่กับการจัดชั้นเรียนแบบปกติ และต้องมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. This research aims to 1) study the special needs children’s behaviors of perception of information in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 2 and 2) find out problems of the special needs children’s behaviors of perception of information in inclusive education classrooms 3.and problems in imposing a guideline to solve and accommodate the children’s problems. 4. The guideline was subsequently developed into a model to improve the special needs children’s perception of information. The sample groups were classified due to the school sizes, i.e. the numbers of students. The key informants from the sample groups were afterwards categorized into four groups; classroom teachers and personnel involving teaching matters, parents of special needs children, teachers from mainstay schools, and supervisors. The instruction manuals for special needs children from the Office of the National Primary Education were used as guidelines to design questionnaires and interviews to use as research instruments in this study. The findings reveal as follow : 1.The special needs children’s behaviors perception of information in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 2 at low level were the groups of the children who have vision impairment, autistic spectrum disorder, and multiple disabilities. The special needs children’s behaviors of perception of information at the moderate level went to groups of children having physical impairments include speech and language impairment and behavioral impairment. 2.The survey indicated issues that affect the special needs children’s perception of information while learning with normal children in inclusive education environment were the teachers’ incompetence in preparing projects and instructional planning for individual special needs children, the inadequate understanding of the parents about the children’s problems apart from their impairments. 3.To impose a guideline to solve the special needs children’s problems of the perception of information, the findings indicated that the schools have prepared various types of projects to accommodate educational policy for special needs children, particularly the improvement of teachers’ competence in inclusive education. In addition, school administrators should focus on inclusive education by allocating additional budget, explicate the behaviors of special needs children and inclusive education to the parents as well as arrange activities that facilitate the improvement of children’s perception of information. 4.To develop a model to improve the special needs children’s perception of information, the findings signify that the schools should arrange appropriate inclusive education activities that suit specific needs of each type of the special needs children’s impairment and disabilities alongside with activities in normal class. Moreover, the schools should arrange special activities that accommodate children’s perception of information continuously.
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2135
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf191.61 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback