DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2128

Title: การใช้ดินลูกรังผสมซีเมนต์เพื่อซ่อมถนนภายหลังประสบอุทกภัย = The Use of lateritic soil cement to repair flood damaged roads
Authors: ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์, ปิติ จันทรุไทย
สราวุธ จริตงาม
Keywords: ดินลูกรัง -- การทดสอบ -- วิจัย
Issue Date: 30-Aug-2016
Abstract: ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหย่จะใช้หินคลุกเป็นวัสดุพื้นฐานสำหรับงานถนน เนื่องจากหินคลุกที่ใช้มีปริมาณมากและเริ่มขาดแคลนควบคู่ไปกับการปรับขึ้นราคาน้ำมันซึ่งมีผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการก่อสร้างทางหลวง นอกจากนี้การผลิตของหินบดที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะ การระเบิด การบดและการส่งสินค้าทางถนนทั้งหมดที่สร้างฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม แม้ว่าดินลูกรังสามารถพบได้ในหลายพื้นที่ แต่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นวัสดุชื้นพื้นทางสำหรับงานถนน งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาการเพิ่มปูนซีเมนต์เพื่อปรับปรุงดินลูกรังเพื่อซ่อมแซมถนนที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยจะปรึกษาเปรียบเทียบลักษณะความแข็งแรงของปูนซีเมนต์ที่เพิ่มดินลูกรังกับหินคลุก การพัฒนาคุณภาพของดินลูกรังโดยการผสมซีเมนต์เพื่อนำมาทดแทนการใช้ดินคลุกในการซ่อมแซมชั้นพื้นทางถนนหลังน้ำท่วมเพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี และต้องใช้งบประมาณในการซ่อมแซมถนนค่อนข้างสูง การนำดินลูกรังมาปรับปรุงและใช้งานในวัตถุประสงค์ดังกล่าว นอกจากช่วยประหยัดงบประมาณแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากหินคลุก เนื่องจากกระบวนการผลิตหินคลุกต้องผ่านกระบวนการระเบิด โม่ และย่อยหิน ทำให้เกิดฝุ่นหินและเสียงดังวึ่งเป็นปัญหาและผลกระทบโดยตรงกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง งานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการคิดเพื่อช่วยลดงบประมาณผ่านดินในการซ่อมแซมถนนหลังอุทกภัยแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมอีก ซึ่งจะเป็นประโยชน์และสมควรให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง งานวิจัยจะทำการศึกษาการเพิ่มคุณสมบัติทางวิศวกรรมขิงดินลุกรังด้วยการผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 โดยใช้ดินลูกรังจาก บ้านห้วยโอน อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ในอัตราส่วนร้อยละ 3,5,7,9 ของน้ำหนักดินแห้งตามลำดับ ที่อายุการบ่ม 7 วัน, 14 วัน และ 28 วัน ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งทำการทดสอบแรงอัดแบบไม่จำกัด เพื่อหาค่ากำลังรับแรงอัดของตัวอย่างดินลูกรัง ผลการทดสอบพบว่า ค่ากำลังรับแรงอัดของดินลูกรังที่ปรับปรุ่งดวยปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 ที่ 5% อายุการบ่ม 7 วัน มีค่า 23.91 ksc ซึ่มมีค่าใกล้เคียงกับมาตราฐานการทางหลวงกำหนดไว้ คือ 21.50 ksc ถือว่าเป็นสัดส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนผสมอื่น. In many developing countries, crushed rock is employed as a base course material for pavement. Since crushed rock is requantities, its shortages coupled with fuel price hike are having the effect of pushing up highway construction cost. In addition, the production of crushed rock involves drilling, blasting, crushing and road haulage, all of which create dust which is detrmantal to the environment. Although lateritic soil is obtainable in many areas, it is too brittle and thus not suitable as road base material. This research presents the idea of adding cement to stabilize the lateritic aggregateto repair flood damaged roads. It compares the strength characteristics of cement-enhanced soil against those of crushed rock This case study, conducted in Songkhla province in southern Thailand, was to investigate the increases in compressive strength of the material samples after they have been mixed with Portland cement type 1 at a mix proportion 3%, 5%, 7%, and 9% by dry soil weight. From test results, compressive strength of latength of laterite soil specimens improved at 5% cement provided the best basement soil in quality. It provided the strength unconfined compressive strength according to that defined by The Department of Highway of Thailand.
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2128
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf169.45 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback