DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2125

Title: การศึกษาพัฒนาการกองทุนสวัสดิการชุมชน สู่กองทุนสวัสดิการรัฐสมทบ กรณีศึกษา กองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช : รายงานการวิจัย = Education evolution community welfare fund to fund the welfare state a case community welfare fund Nakhon Si Thammarat provice
Authors: อุดมศักดิ์ เดโชชัย, บุญยิ่ง ประทุม
สุรินทร์ ทองทศ
Keywords: กองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช -- วิจัย
Issue Date: 30-Aug-2016
Abstract: งานวิจัยเรื่อง การศึกษาพัฒนาการกองทันสวัสดิการชุมชนสู่กองทุนสวัสดิการรัฐสมทบ กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช กระบวนการปรับเปลี่ยนกองทุนสวัสดิการชุมชนสู่กองทุนรัฐสมทบและผลที่เกิดจากกระบวนการปรับเปลี่ยนกองทุนสวัสดิการชุมชนสู่กองทุนสวัสดิการรัฐสมทบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลจากการศึกษาพบว่า พัฒนาการกองทันสวัสดิการชุมชนสู่กองทุนสวัสดิการรัฐสมทบ กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชมี “ช่วงเวลาสำคัญ” แบ่งออกได้เป็น 3 ยุคสมัยด้วยกันคือ 1) ยุคของการริเริ่ม ก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในประเทศไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2518 กล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่สำคัญซึ่งทำให้ชุมชนได้เข้าใจในการใช้ กลุ่มองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาปากท้องของตนเอง 2) ยุคการเกิดขึ้นของกระบวนเครือข่าย “ยมนา” ปี พ.ศ. 2527 แนวคิดของเครือข่ายสามารถเชื่อมโยงทรัพยากรชุมชน ยาง ไม้ นา หรือ เขา ป่า นา เล ของจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง โดยผนึกกำลังกับทุนเงินตราของชุมชนที่มีอยู่ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ของชุมชน ธนาคารของชุมชน จนทำให้บางชุมชนสามารถยกระดับไปเป็นผู้ประกอบการชุมชน ทั้งรูปแบบของธุรกิจชุมชนและวิสาหกิจชุมชน 3) ยุคต่อยอดโดยรัฐ โดยเชื่อมโยงกับกองทุนสวัสดิการชุมชนเดิมของขบวนชาวบ้านที่ทำอยู่ในชุมชน หมู่บ้านซึ่งยังไม่ครอบคลุมสมาชิกส่วนใหญ่และยังเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนขนาดเล็ก กระจายอยู่ตามหมู่บ้านในตำบลหรือตามชุมชนในเขตเทศบาล เพื่อยกระดับกองทุนสวาดิการชุมชนให้มีขนาดกองทุนใหญ่ขึ้นครอบคลุมสมาชิกทั้งตำบลและทั่วถึงทุกชุมชนในเขตเทศบาล โดยการออมของสมาชิกวันละ 1 บาท สำหรับกระบวนการปรับเปลี่ยนพบว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนสู่กองทุนสวัสดิการรัฐสมทบจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการขับเคลื่อนเชื่อมโยงให้เกิดกองทุนสวัสดิการกองทุนระดับตำบล/เทศบาลที่เกิดฐานกองทุนใหม่ที่ครอบคลุมเชิงพื้นที่และจำนวนมาก โดยต่อยอดจากกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีอยู่เดิมซึ่งกระจายตัวอยู่ตามหมู่บ้าน/ชุมชน ส่วนใหญ่ยังเป็นกองทุนขนาดเล็กและยังครอบคลุมจำนวนฐานสมาชิกอยู่ในจำนวนน้อย อย่างไรก็ตามยังพบอีกว่าขบวนองค์กรชุมชนสวัสดิการชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถใช้ฐานขององค์กรการเงินชุมชน เป็นเครื่องมือในการสร้างขีดความสามารถของระบบสวัสดิการชุมชน โดยได้เชื่อมโยงทุนชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ทรัพยากร ป่า ดิน น้ำ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เป็นต้น ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า ระบบกองทุนสวัสดิการชุมชนรัฐสมทบระดับตำบล/เทศบาล ซึ่งรัฐบาลส่วนกลางท้องถิ่น สมทบครั้งที่ 1,2 และ 3 เมื่อแล้วเสร็จตามกระบวนการ ควรศึกษาความเป็นไปได้ถึงรูปแบบและกระบวนการในการเชื่อมโยงขยายกองทุนสวัสดิการรัฐสมทบไปสู่การสมทบสวัสดิการชุมชน ในมิติของฐานทุนชุมชนอื่นๆ ซึ่งนอกเหนือจากฐานองค์กรการเงินชุมชน เช่น ปลูกต้นไม้ หนึ่งต้น รัฐ ท้องถิ่น สมทบหนึ่งต้น เลี้ยงปลาหนึ่งตัว รัฐ ท้องถิ่น สมทบปลาได้อีกหนึ่งตัว เป็นต้น อันจะนำไปสู่ระบบสวัสดิการชุมชนรัฐสมทบที่เกื้อกูลต่อทุกสรรพสิ่งในที่สุด. Research Education Community Welfare To Fund the welfare state A case Community Welfare Fund Nakhon Si Thammarat province. The purpose is to study the development Community welfare fund province. Modify the Community Welfare Fund to fund state contributions. And the effects of process modification Community Welfare Fund to fund the welfare state contributions. The methodology of qualitative research. The study found that Community development Fund to fund the welfare state, Nakhon Si Thammarat province have joined the “critical period” can be divided into three preiods together. 1) The originality of the founded in savings The Community Development Department, Ministry of Interior, said that in the year 2518 is a crucial period for which the Community has better understanding of the Community organization is important. To fix their mouth. 2) The emergence of network formation, “ yomana” about the year 2527, the concept of the network link to Community resources, timber, rubber, rice or wild rice sea mountain of Nakhon Si Thammarat province and neighboring provinces. By joining forces with Foreign Capital The Community is like group of Community saving bank, Community saving until some Communities. Can be elevated to the entrepreneurial Community. The format of the business Community And enterprise Communities 3) The extension of the state. By linking with the Community Welfare Fund procession of villagers who live in Communities which are not covered by most members. The Commonwealth Fund is a small Community. Scattered villages in the district or the municipality to raise fund for Community welfare fund size large. Membership covers the entire district And in every Community in the municipality. The savings of one baht per day. For the modification process Community Welfare Fund to Community welfare fund state contribution to the province. It is powered linked to welfare fund community-level district/municipality that the new fund. The spatial coverage And the number of subscribers On top of community Welfare Fund. Existing Which is distributed along the village/community. Most have a small fund. It also covers a number of bases in a small number of members. However, it was found that the formation of community organization Welfare Nakhon Si Thammarat province. You can use the base of community financial organization. Was instrumental in building the capacity of community welfare. By linking the capital community in vari0us dimensions such as land, water, forest resources, tradition, arts, cultural, intellectual and so on, so it may be that. Community Welfare Fund Contribution sys state district/ municipality. The central government, local authorities joined the first, second and third when the process is completed. It should be up to study the patterns and process in the link. Scalability state welfare fond contribution Contribution to the Community Welfare The dimensions of the capital base other communities. Apart from the financial organization of the state, local communities, such as planting trees, donating one fish from one fish to another state, local contribution, etc. This will lead to the state welfare system, community Contribution. Complementary to everything in the end.
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2125
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf638.13 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf166.03 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback