DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2121

Title: แนวทางการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนแบบองค์รวมเชิงพื้นที่ เขา ป่า นา เล จังหวัดนครศรีธรรมราช : รายงานการวิจัย = Driven approach to holistic develoment of the community welfare, oriented area khao, pa, na le in Nakhon Si Thammarat
Authors: วิชิต จรุงสุจริตกุล, พรเพ็ญ สุขหนู
Keywords: กองทุนสวัสดิการชุมชน -- วิจัย
Issue Date: 30-Aug-2016
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อสำรวจกิจกรรมของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีต่อยอดเชื่อมโยงไปถึงการจัดการทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน (2) เพื่อศึกษาบทบาทและกระบวนการขับเคลื่อนของกองทุนสวัสดิการชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกแบบองค์รวมของชุมชน (3) เพื่อหาแนวทางและข้อเสนอแนะในการขยาย/เชื่อมโยง/บูรณาการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมกับองค์กรภาคีในพื้นที่อื่นๆ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยประสานวิธี โดยเน้นไปทางวิจัยเชิงคุณภาพ ผลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการถอดบทเรียน พบว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายองค์กรต่างๆ มากกว่า 10 เรื่องในตำบล โดยการรวมตัวของเครือข่ายนั้นส่วนใหญ่เพื่อช่วยเหลือตัวเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการเชื่อมโยงนั้นมี 2 ลักษณะคือ กองทุนเชื่อมโยงกับองค์กรภาคีทั้งแนวดิ่งและแนวราบ โดยแนวดิ่งได้เชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) พัฒนาความมั่งคั่งของมนุษย์ (สพม) และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ที่มียุทธศาสตร์สนับสนุนในการช่วยเหลือในหลายๆมิติ ได้แก่ สวัสดิการสังคม การประกอบอาชีพ ที่ดินทำกิน ด้านสังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนในแนวราบได้เชื่อมโยงกับผ่านสภาองค์กรชุมชนซึ่งเป็นศูนย์รวมสำคัญของกลุ่มต่างๆ ภาคประชาชน ทำให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน มีซึ่งได้ดำเนินการบูรณาการแผนสวัสดิการชุมชนร่วมกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนของจังหวัด โดยมีเป้าหมายคือ (1) พัฒนาพื้นที่กองทุนสวัสดิการชุมชนร่วมกับสภาองค์กรชุมชน (2) เรียนรู้/สร้างความเข้าใจการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชน ยกระดับสู่ตำบลจัดการตนเอง ส่วนแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการทางการเงินของกองทุนที่นำไปสู่การเกิดดอกออกผลมาขึ้นโดยจัดสรรเป้นกองทุนแม่ และกองทุนลูกโดยการจัดสรรเงินกองทุนแม่บางส่วนเพื่อหาผลตอบแทนผ่านกองทุนลูก และผลตอบแทนนี้ก็จะเข้าไปรวมอยู่กับกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เป้นกองทุนแม่ แสดงถึงทั้งสองกองทุนนี้ช่วยเสริมความมั่นคงแก่กัน This study has 3 main objective. (1) to survey the activities of the Community Welfare Fund l The extension link to resources in the community. (2) To study the role of process-driven and Community welfare fund to improve the quality of life for holistic community. (3) to propose recommendation for expanding and / connected / integrated social welfare fund with partners in other areas. This research is combined Qualitative and Qualitative Desingn, mainly qualitative research. The results of the analysis and synthesis of the lessons lesearch.Community Welfare Fund has been linked to a network of organizations in the district To support the welfare of over 10 stories in the parish. The integration of the network, mainly to support himself as sufficient economy.Which links the two modes. Funds associated with partners both vertically and horizontally. The vertical links with government agencies and horizontally linked to the community through the organization, which is the center of various civil society groups. As a result, cooperation and khowledge sharing in the community. The best practices in the finctes management of the Fund, leading to a greater fruitfulness. The fund allocated to major funds and secondary funds. The allocation of major funds primarily out some returns for the secondary fund. This is total return on the Community Fund. This represents two funds together to enhance stability
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2121
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf163.73 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback