DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2114
|
Title: | การคัดเลือกราเอนโดไฟท์ที่ผลิตสารยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคจากต้นมันปู |
Authors: | ปาณิสรา ว่องพรรณงาม |
Keywords: | ราเอนโดไฟท์ สารยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ต้นมันปู |
Issue Date: | 3-Feb-2015 |
Abstract: | ราเอนโดไฟท์ที่อาศัยอยู่ในพืชหลายชนิดเป็นแหลงสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกราเอนโดไฟท์จากใบมันปูที่สามารถผลิตสารออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ผลการศึกษาพบว่าสามารถแยกราเอนโดไฟท์จากตัวอย่างใบและกิ่งมันปู ได้ทั้งหมด 208 ไอโซเลต เมื่อนำน้ำเลี้ยงเชื้อราเอนโดไฟท์อายุ 3 สัปดาห์ไปทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นในการต้านจุลินทรีย์ก่อ 7 ชนิด (Staphylococus aureus ATCC25923, Methicillin resistant S. aureus SK1, Pseudomonas aeruginosa ATCC27853, Escherichia coli ATCC25922, Candida albicans ATCC90028, Cryptococcus neoformmans ATCC90112) และ Microsporum gypseum โดยวิธี agar well diffusion พบราเอนโดไฟท์ 36 โซเลต (17.3%) ที่สามารถสร้างสารต้านจุลินทรีย์ก่อโรคอย่างน้อย 1 ชนิด เมื่อทำการแยกสารสกัดจากน้ำเลี้ยงเชื้อและเส้นใยของราเอาโดไฟท์ที่มีฤทธิ์จากการทดสอบเบื้องต้นด้วยตัวทำลายทางเคมี และนำไปทดสอบหาค่า MIC ด้วยวิธี microdilution broth พบว่าสารสกัดจาดราเอนโดไฟท์ 20 ไอโซเลต จำนวน 31 สารสกัด จากจำนวนทั้งหมด 84 สาร(36.9%) ให้ค่า MIC ≤ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยให้ค่า MIC ต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ S. aureus ATCC25923, MRSA SK1, P. aeruginosa ATCC27853, C. albican ATCC90028, C.neoformmans ATCC90112 และ M.gypseum เท่ากับ 32, 200, 200, 4, 32 และ 8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ การศึกนี้แสดงให้เห็นว่าราเอนโดไฟท์จากต้นมันปูเป็นอีกแหล่งที่สามารถผลิตสารที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ก่อโรคได้ดี ที่อาจนำไปใช้ควบคุมปัญหาโรคติดเชื้อในคนได้ |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2114 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|