DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2099

Title: การพัฒนาหลักสูตร ราชวิชาเพิ่มเติม เรื่องกระจูด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
Authors: สญามล ทองขาว
Keywords: กระจูด -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- วิจัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) – วิจัย
Issue Date: 12-Jan-2015
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องกระจูด กลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ การศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างกรอบหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาโครงร่างหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตร คือนักเรียนโรงเรียนวัดท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ชนิด ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องกระจูด จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะในการปฏิบัติงาน และแบบวัดเจตคติต่ออาชีพกระจูดของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์การแปลความหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1.การศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างกรอบหลักสูตร บริบทสังคมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เกี่ยวกับกระจูด นักเรียนมีความต้องการเรียนเรื่องกระจูด เพราะสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ต่อชีวิตประจำวันการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนมีความ ต้องการให้ลูกหลานเรียนรู้เรื่องกระจูด เนื่องจากเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เลี้ยงชีพให้กับครอบครัวได้ ช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทุกฝ่ายพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร 2.การพัฒนาโครงร่างหลักสูตร พบว่าในโครงร่างหลักสูตรมีองค์ประกอบสำคัญ 7 องค์ประกอบ คือ ความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร หลักการ จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล องค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับทุกองค์ประกอบ ผลการประเมินคุณภาพของโครงร่างหลักสูตร พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3.การทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาเพิ่มเติม เรื่องกระจูดของผู้เรียนหลังการทดลองใช้หลักสูตรสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะในการปฎิบัติงานการทำผลิตภัณฑ์กระจูดหลังการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องกระจูดของผู้เรียนอยู่ในระดับดีมากจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 90.32 ระดับดีจำนวน3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.68 เจตคติต่ออาชีพกระจูดของผู้เรียนหลังการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องกระจูดอยู่ในระดับมาก
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2099
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Abstract.pdf171.27 kBAdobe PDFView/Open
Fulltext.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback