DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2098
|
Title: | การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน ภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี กับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Authors: | สะทิพย์ นาทะชัย |
Keywords: | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- วิจัย |
Issue Date: | 12-Jan-2015 |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและทักษะทางสังคมก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจและทักษะทางสังคมระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี กับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 72 คน จัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมห้องละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี และแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนอย่างละ 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ และ 3) แบบสังเกตทักษะทางสังคม การวิเคราะห์ข้อมูล กระทำโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเนนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าที (T-Test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรุ้ตามแนวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการอ่านภาษาไทยและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับรับการจัดการเรียนรุ้ตามแนวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2098 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|