DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2075
|
Title: | แนวทางการพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน : กรณีศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชจัดหวัดนครศรีธรรมราช |
Authors: | นิตยาพร จันทร์อุดม |
Keywords: | การศึกษาตามอัธยาศัย -- วิจัย การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- วิจัย การพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบ -- วิจัย |
Issue Date: | 24-Sep-2014 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน : กรณีศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1.ปัจจัยที่เป็นปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจากให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน คือ แกนนำชุมชนที่เป็นคณะกรรมการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจก ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ และหัวหน้าศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลมีภาระหน้าที่หลายอย่าง นอกเหนือจากภารกิจหลัก และยังขาดวิธีการระดมการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจาก
2.รูปแบบที่เหมาะสมในการเสริมและพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจาก ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน คือ การให้ความรู้ ความเข้าใจถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ มีเจตคติที่ดีในการดำเนินงานของชุมชน จนเกิดองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำเอาความรู้เหล่านั้นไปวางแผนในการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
3.ข้อค้นพบและองค์ความรู้ในการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยาศัยตำบลบางจาก ที่ได้จากการศึกษาสรุปได้ดังนี้
3.1 ลักษณะศูนย์การศึกษานอกรบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจากควรเป็นศูนย์รวมความคิด ศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศุนย์กลางในการจัดกิจกรรมการเรียนในทุกด้านของชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ดำเนินการกิจกรรมที่จะต้องตกเป็นของชุมชนได้ใช้เป็นของหน่วยงานราชการ กิจกรรมที่ต้องสอดคล้องกับปัญหาและความต้แองการของคนในชุมชนตามความต้องการของชุมชน เป็นรียนรู้ของชุมชน ดำเนินการโดยชุมชน มีการจัดกิจกรรมที่จัดต้องสอดค้ลองกับปัญหาและความต้องการของชุมชนตามความสนใจและวิถีชีวิตของคนในชุมชนมีการจัดกิจกรรมหลากหลาย และมารูปแบบสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยเน้นวิถีชีวิตอย่างต่อเนื่อง ใช้วิธีการพึ่งพาตนเองโดยใช้ต้นทุนทางสังคมเป็นหลัก ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากภาคส่วนอื่นๆหน่วยงานภายนอกของชุมชนควรให้การสนับสนุกส่วนที่เกินกำลังของชุมชน ได้แก่ อาคารสถานที่ ครุฑ์ที่ทันสมัยเป็นต้น อาคารที่ตั้งอยู่ในจุดจุดที่เหมาะสม สภาพภายในและภายนอกมีความสะอาด ร่มรื่นกลมกลืนกับสภาพวิถีชีวิตของคนในชุมชน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เหมาะสมและเพียงพอ
3.2คนในชุมชนจะมาร่วมใช้บริการละร่วมพัณนาศูนยืการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจาก จะต้องดำเนินการจัดกิจกรรมหลากหลาย ต่อเนื่อง มีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นจุดเด่นเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้รับบริการ และตอบสนองความต้องการตามวิถีชีวิตของประชาชน หัวหน้าศุนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน มีจิตอาสาในส่วนที่เป็นบทบาทหน้าที่โดยตรง และบริการชุมชน นอกเหนือจากบทบาทหน้าที่ สรรหาและเชิญชวนผู้นำทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มีความเข้มแข็ง เสียสละ ใฝ่รู้ สามารถที่จะทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ดี มาเป็นคณะทำงาน มีการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการหลายวิธีอย่างต่อเนื่อง และเข้าถึงประชาชนในเขตบริการ มีการพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งอาคารสถานที่ สภาพภายนอก และด้านการบริการ
โดยสรุปการศึกษาแนวทางการพัฒนาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการชุมชน : กรณีศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้พบแนวทางในการพัฒนา ประกอบด้วย การสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อผู้เกี่ยวข้องความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรม เจตคติที่ดีต่อศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล การได้เข้ามามีส่วมร่วม สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน สื่อครุภัณฑ์ที่ดีและทันสมัย การมีส่วนร่วมของเครือข่าย ที่ตั้งที่เหมาะสม ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและเป็นประโยชน์สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดียิ่ง |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2075 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|