DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2072

Title: การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: อมรารัตน์ กิจธิคุณ
Keywords: ผู้บริหารโรงเรียน -- วิจัย
ครู – การทำงาน -- วิจัย
Issue Date: 24-Sep-2014
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังอำนาจของผู้บริหาร แรงจูงใจของครูเปรียบเทียบแรงจูงใจของครู เมื่อมีสถานภาพแตกต่างกัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจของครู และการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์แรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย 1.การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน 2.แรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับสูง ทุกด้าน 3.ครูโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน พบว่า มีระดับแรงจูงใจของครูโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าแรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษา ด้านรายได้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ครูที่เป็นข้าราชการมีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจของครู ด้านรายได้สูงกว่าครูที่เป็นพนักงานราชการ 4.การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับแรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.962 เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับแรงจูงใจปัจจัยกระตุ้นของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.925 และการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับแรงจูงใจปัจจัยค้ำจุนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.956 เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ดังนี้ พลังอำนาจด้านบารมี พลังอำนาจด้านพึ่งพา พลังอำนาจด้านตามกฎหมาย พลังอำนาจด้านการบังคับลงโทษ พลังอำนาจด้านความเชี่ยวชาญ และพลังอำนาจด้านการให้รางวัล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ดังนี้ 0.904, 0.898, 0.896, 0.892, 0.887 และ0.882 ตามลำดับ ส่วนพลังอำนาจด้านข่าวสารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูงกับแรงจูงใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.739 5.การใช้พลังอำนาจสามารถพยากรณ์แรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสามารถพยากรณ์แรงจูงใจของครู โดย ตัวแปรทั้ง 6 ตัวนี้ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับแรงจูงใจของครู ร้อยละ 96.40(R = 0.964) และสามารถพยากรณ์แรงจูงใจของครูได้ร้อยละ92.90(R2 = 0.929)ซึ่ง พลังอำนาจบารมี(A4) พลังอำนาจพึ่งพา(A7) พลังอำนาจข่าวสาร(A6) พลังอำนาจการให้รางวัล(A1) และ พลังอำนาจตามกฎหมาย(A3) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วน พลังอำนาจความเชี่ยวชาญ(A5) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2072
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Title.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf758.13 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf726.08 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Biography.pdf201.79 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback