DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2066

Title: การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมที่จัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6
Authors: พระครูโสภณธรรมประดิษฐุ์ (วีระพัฒน์ จันทร์ศรีนาค)
Keywords: กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- วิจัย
พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน -- วิจัย
Issue Date: 24-Sep-2014
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระพระพุธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมก่อนและหลังจากจัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมหลังจัดการการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนสาระพระพุทธสาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาสาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้ตามแนวทางอริยสัจสี่ในภาพรวมและรายด้านกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 41 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย(simple random sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผ่นการจัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่ หน่วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องโอวาท 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสารสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (̅X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test แบบ dependent sample test และt-test แบบ One sample test ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลสัมฤทธ์ทางการเรียนสาระพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2.ผลสัมฤทธ์ทางการเรียนสาระพระพุทธสาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่แตกต่างจากเกณฑ์เป้าหมายของคุณภาพผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมซึ่งตั้งเกณฑ์ไว้ว่านักเรียนต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ70อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01ซึ่งผลสัมฤทธ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่สูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ70 3. เจตคติต่อการเรียนสาระพระพุทธสาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวอริยสัจสี่ในภาพรวมรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านคุณค่าความสำคัญและประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านเนื้อหาการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2066
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Title.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf425.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf927.25 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Biography.pdf224.21 kBAdobe PDFView/Open
Fulltext.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback