DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิทยานิพนธ์ >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2056

Title: ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชลักษณะทางกายภาพและคุณค่าทางอาหารของเมล็ดบัวสาย (Nymphaea lotus Linn.) อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Authors: ยุวดี วัฒนสุนทร
Keywords: ลิขสิทธิ์
เมล็ดบัวสาย -- วิจัย
บัว -- นครศรีธรรมราช -- วัย
Issue Date: 24-Sep-2014
Abstract: การศึกษาเมล็ดบัวสายที่มีสายพันธุ์แตกต่างกัน จำนวน 2 สายพันธุ์ และได้จากแหล่งน้ำที่แตกต่างกัน ของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช คือเมล็ดบัวสายดอกสีขาวปนชมพูจากบ่อปลูก เมล็ดบัวสายดอกสีขาวปนชมพู และเมล็ดบัวสายดอกสีม่วงปนขาวจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและคุณค่าทางอาหารของเมล็ดบัวสาย การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ สี ขนาด การพองตัวหลังในน้ำที่อุณหภูมิห้องและการพองตัวหลังต้มที่อุณหภูมิ 800 C และการวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อบอกคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ ความชื้น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เยื่อใย เถ้า แร่ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก และพลังงาน วิเคราะห์ 5 ซ้ำ หาค่าเฉลี่ย/เมล็ดแห้ง 100 กรัม ผลการศึกษาพบว่าเมล็ดบัวสายทั้ง 3 แหล่งมีค่า L* 32.4244.81 a* 12.01 – 14.30 และ b* 15.03 – 22.22 เมล็ดส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 มิลลิเมตรแต่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร 80.45 – 90.93 กรัม คุณค่าทางอาหารต่อเมล็ดแห้ง 100 กรัม เมล็ดบัวสายมีความชื้น 1.59 – 2.73 กรัม และไขมัน 1.25 – 1.49 กรัม ซึ่งต่ำมาก เยื่อใย 2.27 – 2.86 กรัม แต่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง ระหว่าง 9.58 – 10.85 กรัม และ 84.63 – 85.42 ตามลำดับ มีเถ้าเล็กน้อย 0.76 – 0.85 กรัม ปริมาณแร่ธาตุสูง แคลเซียม 230.13–46.80 มิลลิกรัม เหล็ก 64.87-73.81 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 15.54-18.81 มิลลิกรัม และพลังงานรวม 391.83-407.04 กิโลแคลอรีทั้งสี ขนาด และคุณค่าทางอาหารของเมล็ดบัวสายทั้ง 3 ตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การพองตัวหลังแช่น้ำที่อุณหภูมิห้อง 90.00-115.00 กรัม และพองตัวหลังการต้มที่อุณหภูมิ 800 C 455.00-538.33 กรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผลการศึกษานี้ได้ว่าเมล็ดบัวสายจากทุกแหล่งก็มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะสำหรับบริโภค โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียมและเหล็กปริมาณมาก และต้องการไขมันต่ำ จึงเสริมให้มีการบริโภคเมล็ดบัวสายกันอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพแก่ประชาชน และควรมีเผยแพร่ผลการศึกษานี้ต่อสาธารณชน ให้เห็นถึงคุณค่าทางอาหารของเมล็ดบัวสาย และมีความต้องการเมล็ดบัวสายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกร ในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรายได้จากการปลูกบัวสายเพิ่มผลผลิตเมล็ดบัวสายให้มากขึ้น
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2056
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Title.pdf850.93 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf655.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf871.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf896.05 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Biography.pdf227.3 kBAdobe PDFView/Open
Fulltext.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback