DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1864

Title: แผนงานวิจัยการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็งอย่างยั่งยืน : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์= The Sustainable mangement and making use of natural resources at kuankreng peat lands
Authors: สุมาลี เลี่ยมทอง, และคณะ
Keywords: ป่าพรุควนเคร็ง -- วิจัย
Issue Date: 1-Nov-2013
Abstract: แผนงานวิจัยการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็งอย่างยั่งยืน เป็นแผนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2554 ซึ่งแผนงานวิจัยได้ดำเนินการศึกษา ป่าพรุในบริเวณพื้นที่ ต.เคร็ง ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของป่าพรุควนเคร็ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในป่าพรุ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ในป่าพรุ และศึกษาถึงแนวทางในการเพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติของป่าพรุ โดยการมี ส่วนรวมของชุมชน ซึ่งมีโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยจำนวน 9 โครงการ คือ โครงการวิจัยที่ 1 การศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม แต่ละการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ ป่าพรุควนเคร็ง โดย อาจารย์สุพพัต เหมทานนท์ เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการวิจัยที่ 2 พลวัตการใช้ประโยชน์ทรัพยาการในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง โดย อาจารย์นฤมล ขุนวีช่วย เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการวิจัยที่ 3 การมีส่วนรวมของชุมชนในการศึกษาความหลากหลายของยุง ในพื้นที่ปาพรุควนเคร็ง โดยมี ผศ.ดร.ศุภวรรณ พรหมเพรา เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการวิจัยที่ 4 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการศึกษาสังคมพืชและปลาในพึ้นที ป่าพรุควนเคร็ง โดยมี ผศ.ดร.สุภาพร สุทิน เป็นหัวหน้าโครงการ และ ผศ.สุจารี แก้วคง คุณครู จุรีย์ ไก่แก้ว และคุณครูพุทธนันท์ ชูกรณ์ เป็นผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัยที่ 5 ผลกระทบของไฟป่าต่อความหลากหลายของเชื้อราและสาหร่าย ในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง โดยมี อาจารย์โสภนา วงศ์ทอง เป็นหัวหน้าโครงการ และอาจารย์ มัณฑกา วีระพงศ์ เป็นผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัยที่ 6 ผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และดินในพื้นที่ปาพรุควนเคร็ง โดยมีอาจารย์ปิยวรรณ เนื่องมัจฉา เป็นหัวหน้าโครงการ และ ผศ.ประวิทย์ เนื่องมัจฉา เป็นผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัยที่ 7 การคัดเลือกราเอนโดไฟท์ที่ผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืช ในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง โดยมี ดร.สุมาลี เลี่ยมทอง เป็นหัวหน้าโครงการ และอาจารย์แน่งน้อย แสงเสน่ห์ เป็นผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัยที่ 8 ฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระและปริมาณน้ำมันหอมระเหยในพื้นที่ป่าพรุ ควนเคร็ง โดยมีอาจารย์แน่งน้อย แสงเสน่ห์ เป็นหัวหน้าโครงการ อาจารย์ปวีณา ปรวัฒน์กุล และอาจารย์ญานิศา เทพช่วย เป็นผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัยที่ 9 ระบบสารสนเทศและตัวแบบเชิงภูมิศาสตร์สำหรับการประเมินความ หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง โดบ ดร.มนิต พลหลา เป็นหัวหน้าโครงการ และ อาจารย์มโนรส บริรักษ์อราวินทร์ เป็นผู้ร่วมวิจัย โดยมีคณะผู้บริหารแผนงานวิจัยประกอบด้วย ดร.สุมาลี เลี่ยมทอง ผศ.ดร.ศุภวรรณ พรหมเพรา ผศ.ดร.สุภาพร สุทิน ดร.มนิต พลหลา ผศ.ประวิทย์ เนื่องมัจฉา อาจารย์แน่งน้อย แสงเสน่ห์อาจารย์นฤมล ขุนวีช่วย อาจารย์โสภนา วงศ์ทอง อาจารย์สุพพัต เหมทานนท์ และ อาจารย์อรดา โอภารัตนากร ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากทางโครงการจะมีการประสาน ความร่วมมือกับหน่วยราชการ โรงเรียน และองค์กรชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการ โครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทางแผนงานยังได้รับข้อเสนอจากการเปิดเวทีเรียนรู้ ชุมชนว่าการเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ได้เข้าร่วมศึกษาวิจัยและเรียนรู้ท้องถิ่นของตนเอง จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการจัดการป่าพรุอย่างยั่งยืน ทางแผนงานวิจัยจึงได้จัดโครงการ “การอบรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แผนงานวิจัยการจัดการและการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรป่าพรุควนเคร็งอย่างยั่งยืนเป็นต้นแบบในการเรียนรู้” ให้แก่คณะครูและ นักเรียนโรงเรียนชะอวดวิทยาคาร และโรงเรียนชะอวดเคร่งธรรมวิทยา ซึ่งพบว่าภายหลังจาก การฝึกอบรม คณะครูได้มีการนำความรู้จากงานวิจัยดังกลาว ไปใช้เป็นแนวทางให้นักเรียนในได้ เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดจิตสำนึกในการหวงแหนและ อนุรักษ์ทรัพยากรได้เป็นอย่างดี องค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการวิจัย นอกจากจะ นำไปเผยแพร่ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ งานประชุมทางวิชาการต่างๆ และใช้ประกอบการ สอนนักศึกษาแล้ว ทางแผนงานวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดกลับให้กับท้องถิ่นผ่าน ทางการจัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัย เพื่อให้หน่วยราชการ โรงเรียน และองค์กรชุมชนต่าง ๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนบริหารจัดการ เพื่อให้เกิตการอนุรักษ์และเกิดการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรปาพรุควนเคร็งอย่างยั่งยืนต่อไป
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1864
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback