DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1862

Title: การจัดการความรู้ของกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์พอเพียง : กรณีศึกษาองค์กรชุมชนตำบลสหกรณ์เฉลิมพระเกียรติ ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช : รายงานการวิจัย
Authors: วิเชียร มันแหล่, อุดมศักดิ์ เดโชชัย
Keywords: สหกรณ์เฉลิมพระเกียรติ -- วิจัย
ความจน -- วิจัย
Issue Date: 1-Nov-2013
Abstract: ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทกลุ่ม องค์กร เครือข่ายชุมชน ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดคนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการความรู้และ ปัจจัยเอื่อหนุนด้านต่าง ๆ ที่มีต่อกระบวนการจัดการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชนตำบลสหกรณ์เฉลิม พระเกิยรติ ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เเละ3) เพื่อพัฒนารูปแบบการ จัดการความรู้ อันจะนำไปสู่การแก้ ไขปัญูหาความยากจน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบท ทั่วไป และบริษัทการจัดการความรู้ของกลุ่ม องค์กร เครือข่ายชุมชน จากวิธีการแจกแบบสอบถาม วิธีการสัมภาษณ์ และกาวเปิดเวทีสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่ม องค์กร เครือข่ายชุมชนโดยนำผลการศึกษาจากระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ที่ สามารถแก้ปัญหาความยากจน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยปรากฏผลการวิจัยดังนี้ ในระยะที่ 1 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่ม องค์กร เครือข่ายชุมชน ก่อตั้งขึ้นจากจากการรวมตัวของประชาชนในชุมชนเอง เพื่อช่วยเหลือกันในเรื่องราคาสินค้า การต่อรองราคาสินค้าเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กับ พ่อค้าคนกลาง และสร้างนิสัยการออมให้แก่สมาชิก และจัดตั้งขึ้นตามนโยบายรัฐบาลโดย เริ่มแรกมีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือในการดำเนินกิจการ ปัจจุบันกลุ่มได้ตำเนินกิจกรรมโดย อาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการพัฒนาให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง การจัดการความรู้ของกลุ่ม เกิดจากการเลือกและตัดสินใจระบุถึงความรู้เอง โดย สมาชิกส่วนใหญ่ได้ช่วยกันเลือกและตัดสินใจจากการประชุมพูดกุย ปรึกษาหารือกัน อีกทั้งยังเอา ประสบการณ์ที่เคยทำมาก่อนมาช่วยในการตัดสินใจในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรม ซึ่งทำให้เกิด การมีส่วนร่วมของสมาชิกและประสบความสำเร็จ มีการแสวงหาความรู้จากการอบรม ศึกษาดูงาน สอบถามผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ จากการจดจำแล้วนำมาทดลองปฏิบัติเอง และนำความรู้เดิมาพัฒนา ปรับปรุงด้านการใช้ เและพัฒนาความรู้ ได้นำข้อมูลความรู้ที่ได้จากกระบวนการแสวงหาความรู้ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่ม โดยนำความรู้มาปฏิบัติตาม เเละปรับปรุงหา ความรู้เพิ่มเติม ด้านการถ่ายทอดความรู้ ใช้วิธีการบอกกล่าว การอบรม การแจกเอกสาร ข้อมูล แผ่นพับ และการสาธิต/ทำให้ดู และด้านการเก็บรักษาจดจำความรู้ จดจำผ่านตัวบุคคล และการ เก็บรักษาโดยการจดบันทึก ซึ่งเป็นปัญหาทำให้ข้อมูลหาย ลบเลือน คลาดเคลื่อน ในระยะที่2 ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัตการความรู้ของกลุ่ม องค์กร เครือข่ายชุมชน อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหา ความยากจน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมชุมชน 2) การสร้างแรงจูงใจ จิตสำนึก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างวิสัยทศน์ 3) การ จัคทำแเผน/พัฒนาศักยภาพกลุ่ม 4) นำแผนไปปฏิบิตและพัฒนางาน และ 5) ประเมินสรุปผล โดย แต่ละขั้นตอนจะมีกิจกรรมการเรียนรู้ ควบคู่กับการจัตการความรู้ไปด้วย ซึ่งผลการประเมินรูปแบบ การจัดการความรู้กลุ่ม องค์กร เครือข่ายชุมชน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สมาชิกของแต่ละ กลุ่มมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เป็นไปแบบที่มีความเหมาะสม องค์กรชุมชนมีระบบกลไก ข้บเคลื่อนการจัคการความรู้หนุนเสริมการพัฒนาชุมชน บุคลากรเกิตการเรียนรู้ มีความเข้าใจเชื่อมั่น สามารถดำเนินการจัดการความรู้อย่างได้ผล
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1862
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Fulltext.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback