DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1820

Title: รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการ การคัดเลือกราเอนโดไฟท์ที่ผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นจิก (Barringtonia acutangula L.Gaertn) (Sereening of endophytic fungi producinng bioactive subsrances from Barringtonia acutangula L.Gaertn.)
Authors: สุมาลี เลี่ยมทอง, แน่งน้อย แสงเสน่ห์
Keywords: อินทรียเคมี
ต้นจิก -- วิจัย
ราเอนโดไฟท์ -- วิจัย
Issue Date: 25-Sep-2013
Abstract: จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อราเอนโดไฟท์ที่แยกได้จากใบ ก้านใบ และกิ่งของต้น จิก (Barringtonia acutangula L. Gaertn) จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พบว่า เมื่อนำน้ำเลี้ยงเชื้อของราเอนโดไฟท์จำนวน 392 ไอโซเลตที่แยกได้ ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง จุลินทรีย์ก่อโรคในคน 7 ชนิด คือ staphylococus aureus ATCC25923 methicillin-resistant staphylococcus aureus SK1, Pseudomonas aeruginosa ATCC27853, Escherichia coli ATCC25922 Candida albicans ATCC90028, Cryptococcus neoformans ATCC90012 และ Microsporum gypseum มีเชื้อราจานวน 182 ไอโซเลต (46.4%) ที่ยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบอยางน้อย 1 ชนิด โดยยับยั้ง P. aeruginosa ATCC27853 ได้มากที่สุต จำนวน 119 ไอโซเลต (30.4%) รองลงมา คือ S. aureus ATCC25923 และ MRSA จำนวน 46 และ 38 ไอโซเลต (11.7 และ 9.7 % ) และยับยั้ง จุลินทรีย์ที่เหลือได้น้อย (0.5-3.8%) เมื่อนำน้ำเลี้ยงเชื้อราและเส้นใยราที่มีฤทธิ์ในการทดสอบน้ำ เลี้ยงเชื้อไปสกัดสารด้วยตัวทำละลาย แล้วนำมาทดสอบฤทธิ์กับจุลินทีรย์ที่ถูกยับยั้งจากการทดสอบ กับน้ำเลี้ยงเชื้อรา พบว่ามีสารสกัดหยาบจานวน 174 สารจากสารสกัดหยาบทั้งหมด 443 สาร (39.3%) ทีมีฤทธิ์ในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ระดับความเข้มข้น 20O ug/ml โดยมีสารสกัดหยาบที่ให้ผล ดีที่สุดในการยับยั้งจุลินทรีย์แต่ละชนิด ดังนี้คือ สารสกัด C57CH สำหรับ C. neoformans (MIC = 0.5 ug/ml) สารสกัด S4CH, Sl2CH, Sl6CH และ S28CH สำหรับ C.. albicans (MIC = 0.5 ug/ml) สารสกัด C9CH สำหรับ S. aureus (MIC = 16 ug/ml) สารสกัด N76CE และ C3CH สำหรับ MRSA (MIC = 32 ug/ml) สารสกัด N45BE สำหรับ P. aeruginosa (MIC = 4 ug/ml) สารสกัด C6OBE, C60CE และ S35BE สำหรับ E. coli (MIC = 200 ug/ml) สารสกัด S52BE และ C52CH สำหรับ M. gypseum (MIC = 200 ug/ml) มีสารสกัดเพียง 1.13% ที่มีฤทธิ์ฆ่าจุลลินทรีย์ที่ทดสอบ เมื่อนำสารสกัด ที่ให้ค่า MIC น้อยกว่าหรือเท่ากับ 128 ug/ml และมีปริมาณสารเหลือมากกว่า 2.5 mg จำนวน 20 สาร ไปทดสอบฤทธิ์ต้านนอนุมูลอิสระ DPPH และ OH และบันทึกข้อมูล H-NMR และ C-NMR พบว่าสารสกัดทุกสารมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูล OH (IC50 = 0.03-2.24 mg/ml) และสารสกัด 14 สาร ที่มีฤทธิ์ไนการต้านอนุมูล DPPH(IC50 = 0.03-0.24 mg/ml) สารสกัดหยาบ 2 สาร เป็นสารบริสุทธิ์ คือ S12BE เป็นสาร abscisic acid และ S28BE เป็นอนุพันธ์ของสารประเภท isochromanone เชื้อรา เอนโดไฟท์ 38 ไอโซเลต ที่ไห้สารสกัดหยาบที่มีล่า MIC ต่อจุลินทีรย์ก่อโรค < 128 ug/ml ส่วน ใหญ่เป็นราที่จัดอยู่ในกลุ่ม mycelia sterilia (76.3%) ส่วนราที่เหลือจัดอยู่ในกลุ่ม Pennicillium sp. และ colletotrichumm sp กลุ่มละ 2 ไอโซเลต Xylaria sp., Acremonium sp., Sporothirx sp. และ Pestalotiopsis sp. ชนิดละ 1 ไอโซเลต จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงว่าราเอนโคไฟท์จากต้นจิก เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพที่สำคัญ
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1820
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Title.pdf708.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter_All.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf728.61 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback