DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1630
|
Title: | ปัจจัยด้านครอบครัว และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
Authors: | สุภะรัฐ ยอดระบำ |
Keywords: | จิตสาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช -- นักศึกษา -- วิจัย |
Issue Date: | 9-Jan-2013 |
Abstract: | ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านครอบครัวและจิต
ลักษณะที เกี่ยวข้อง กับการเกิดจิตสาธารณะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่แสดงออกถึงจิตสาธารณะของนักตกษาชั้นปีที 1
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขและพัฒนาจิตสาธารณะของ
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม ภูมิหลัง
ส่วนที่ 2 แบบวัดพฤติกรรมการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ส่วนที่ 3 แบบวัดเกี่ยวกับปัจจัยด้าน
ครอบครัว และจิตลักษณะ จำนวน 4 ชุด ได้แก่ แบบวัดการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนใช้เหตุผล
แบบวัดการเห็นแบบอย่างจากบิดามารดา แบบวัดสุขภาพจิตดี และแบบวัดทัศนคติที่ดีต่อ
พฤติกรรมการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (pearson's product-Momen
correlatlon)
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ คือ
1. ด้านข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของกลุมตัวอย่างพบวา เป็นนักศึกษาชายร้อยละ 50 และ
นักศึกษาหญิงร้อยละ 50 บิดาประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 55.4 มารดาประกอบอาชีพ
เกษตรกร ร้อยละ 56.2 ครอบครัวมีรายได้ 10,001 -15,000 บาท หรือร้อยละ 49 และปัจจุบันร้อย
ละ 75.8 พักอาสัยอยู่ในหอพัก
2. พฤติกรรมการทำประโยชนเพื่อส่วนรวม (จิตสาธารณะ) ในภาพรวมอยู่ในระดับปาน
กลาง โดยพฤติกรรมการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมสูงสุด คือ การรักษาความสะอาดในการใช้
ห้องน้ำทุกครั้ง และพฤติกรรมการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมต่ำสุด คือ การขีดเขียนข้อความต่างๆ ที
โต๊ะ เก้าอี้ และผนังของอาคาร
3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤตีกรรมการทำประโยชน์เพื่อ
ส่วนรวม (จิตสาธารณะ) คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนให้เหตุผล การเห็นแบบอย่างจาก
บิดามารดา ลุขภาพจิตดี และทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
ข้อเสนอแนะการปฏิบิตเพื่อการพัฒนามี 3 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก ควรแก้ไข หรือค้นหาแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรม และปลูกฝังให้
นักศึกษาเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดทรัพยากร รู้จักความเสียสละ และการ
รักษาสาธารณะสมบัติ โดยพฤติกรรมที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ พฤติกรรมการขีดเขียนข้อความ
ต่างๆ ที่โต๊ะ เก้าอี้ และผนังของอาคาร
ประการที่สอง บิดามารดา หรือผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับการอบรมเลี้ยงดูแบบรัก
สนับสนุนให้เหตุผล และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนใจทุกข์
สุขของบุตรหลานมากขึ้น และการนำขยะไปทิ้งในถังขยะที่มีการจัดเตรียมไว้ให้
ประการสุดท้าย ควรปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมของ
นักศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการที่ต้องคอยปิดไฟและพัดลมในห้องเรียนเมื่อเรียน
เสร็จ ซึ่งนักศึกษามีทัศนคติว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา |
URI: | http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1630 |
Appears in Collections: | วิจัย
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|