DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1623

Title: ความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Authors: จักรกฤช ณ นคร
Keywords: กฎหมาย -- ไทย -- วิจัย
Issue Date: 9-Jan-2013
Abstract: ความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มี วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายของประชาชน ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัย สนับสนุน กับความูร้เบื้องต้นทางกฎหมาย เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความูร้เบื้องต้นทาง กฎหมายของประชาชน และเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถามกับระดับความรู้เบื้องต้นทางกฎหมาย ประชากรที่ใช้ศึกษา ศึกษาเฉพาะประชาชน ใน เขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีอายุระหว่าง 20-70 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questiomaire) โดยแบ่งรายละเอียดของแบบสอบถาม ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ส่วนที่ 2 เป็นส่วนหลักของการทำการวิจัยทีทำการ ทดสอบความูร้เบื้องต้นทางกฎหมาย โดยเป็นคำถามแบบให้ตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ให้ผู้ตอบ แบบสอบถามตอบตามความรู้ความเข้าใจของตนเอง มีคำถามทั้งหมด 30 ข้อ ครอบคลุมเนื้อหาของ ความรู้เบื้องต้นทางกฎหมาย หากตอบถูกได้ข้อละหนึ่งคะแนน หากตอบผิดไม่ได้คะแนนในข้อนั้น และให้ผลคะแนนรวมของส่วนนี้เป็นตัวชี้วัดระดับความูร้เบื้องต้นทางกฎหมายของผู้ตอบ แบบสอบถามแต่ละคนเป็นค่าตัวแปรตามสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดย ให้กลุ่มตัวอย่าง ตอบแบบสอบถาม มิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม spss วิเคราะห์ หาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบียงเบนมาตรฐาน และค่า chi - Square เพื่อยืนยันการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและเพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนมีความูร้เบื้องต้นทางกฎหมายในระดับต่ำ นั้น ผลสรุปจากค่าทางสถิติของ ผู้ตอบแบบสอบถามแล้วมีค่าเท่ากับ 15.59 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลางเล็กน้อย คือ 15.00 จาก คะแนนเต็ม 30 คะแนน จึงถือว่า ประชาชน ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีความูร้ เบื้องต้นด้านกฎหมายในระดับปานกลางค่อนต่ำ ดังนั้นผลการศึกษาจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ และจากสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคล ที่แตกต่างกันมีความูร้เบื้องต้นทางกฎหมายแตกต่าง กันนั้น ผลการทดสอบสมมติฐานได้ผล ดังนี้ 1.1 ประชาชนที่มีเพศที่แตกต่างกัน มีระดับระดับความูร้เบื้องต้นทางกฎหมาย แตกต่างกัน พบว่า ประชาชนโดยส่วนรวมไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจความูร้เบื้องต้นด้านกฎหมาย แต่ถ้าวัดตามเพศแล้วเพศชาย มีความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายสูงกว่าเพศหญิง ผลการศึกษาเป็นไป ตามสมมติฐานทีตั้งไว้ 1.2 ประชาชนทีมีอายุที่แตกต่างกัน มีระดับระดับความูร้เบื้องต้นทางกฎหมาย แตกต่างกัน พบว่า ประชาชนโดยส่วนรวมไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจความูร้เบื้องต้นด้านกฎหมาย แต่ถ้าวัดตามอายุแล้วผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง41-50ปี มีความูร้เบื้องต้นด้านกฎหมายสูง ที่สุต รองลงมาคือผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 31-40ปีร้อยละ ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มี อายุระหวเาง 61-70 ปี มีความูร้เบื้องต้นด้านกฎหมายต่ำทีสุด ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้ง 1.3 ประชาชนที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับระดับความรู้เบื้องต้นทาง กฎหมายแตกต่างกัน พบว่า ประชาชนโดยส่วนรวมไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจความูร้เบื้องต้นด้าน กฎหมาย แต่ถ้าวัดตามระดับการศึกษาแล้วผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าฟัรญญาตรี มีความูร้เบื้องต้นด้านกฎหมายสูงทีสุด รองลงมาคือผู้ตอบแบบสอบถามทีมีระดับการศึกษา3รญญูา ตรี ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามทีมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่3 หรือต่ำกว่า มีความรู้เบื้องต้นด้าน กฎหมายต่ำทีสุด ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานทีตั้งไว้ 1.4 ประชาชนทีมีอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับระดับความรู้เบื้องต้นทางกฎหมาย แตกต่างกัน พบว่า ประชาชนโดยส่วนรวมไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจความูร้เบื้องต้นด้านกฎหมาย แต่ถ้าวัดตามอาชีพแล้วผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอาชีพนักเรียน นักศึกษา มีความูร้เบื้องต้นด้าน กฎหมายสูงที่สุด รองลงมาคือผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอาชีพพนักงานบริษัท ส่วนผู้ตอบ แบบสอบถามทีมีอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีความูรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายต่ำที่สุด ผลการศึกษาเป็นไป ตามสมมติฐานทีตั้งไว้ ข้อเสนอแนะในการวิจัย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ประชาชน ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีความรู้ เบื้องต้นด้านกฎหมายในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ระดับความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายอาจมี ความแตกต่างกันจากความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ การศึกษาและอาชีพ มี ปัจจัยอื่นๆ มากกว่านี้ ควรทงาการศึกษาในลำดับต่อไป ดังนั้น ผลจากการศึกษาวิจัยจึงเป็นแนวทางในการจัดโครงการให้ความรู้พื้นฐานความรู้ ด้านกฎหมายแก่ประชาชนในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสามารถแบ่งกลุ่มการ จัดโครงการให้ความูร้ ตามความแตกต่างของปัจจัยส่วนบคคล และยังสามารถจัดหลักสูตรให้ เหมาะสมกับผู้เข้าอบรมอีกด้วย
URI: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1623
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Title.pdf614.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf407.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf333.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf698.18 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf402.85 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf568.55 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf242.91 kBAdobe PDFView/Open
Biography.pdf209.38 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback