DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1526

Title: บทคัดย่อ : การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Authors: สันทัด สุทธิพงษ์
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะ
Issue Date: 11-Jun-2012
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2)หาคุณภาพและสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2551 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคกลาง 7 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จำนวน 700 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านความพอประมาณ มีลักษณะเป็นข้อคำถามที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ด้านความมีเหตุผลมีลักษณะเป็นสถานการณ์และข้อคำถามมีตัวเลือก 3 ตัวเลือก และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีมีลักษณะเป็นข้อคำถามที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงพินิจ (Face Validity) โดยการพิจารณาดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistency : IOC) หาค่าอำนาจจำแนก (Discrimnation) โดยใช้วิธีการตรวจสอบ t-test แบบเทคนิค 25% ของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Valadity) โดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Comfirmatory Factor Analysis) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (a-Coefficient) ของครอนบา (Cronbach) และสร้างเกณฑ์ปกติโดยหาเปอร์เซนต์ไทล์ (Percentile) และคะแนน T ปกติ (Normalized T-scorce) ผลการวิจัยพบว่า 1.ได้แบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านความพอประมาณ 17 ข้อ ด้านความมีเหตุผล 9 ข้อ และด้านการมีภูมิคุ้มกัน 23 ข้อ จำนวน 49 ข้อ 2.ความเที่ยงตรงเชิงพินิจของแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ถึง 1.00 ทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี 3.ค่าอำนวจจำแนกของแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีค่าดัชนีจำแนก (t-test Index) ด้านความพอประมาณตั้งแต่ 1.930 ถึง 9.333 ด้านความมีเหตุผลตั้งแต่ 1.751 ถึง 9.934 และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีตั้งแต่ 2.136 ถึง 15.957 4.ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบด้านความพอประมาณตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.96 ด้านความมีเหตุผลตั้งแต่ -0.32 ถึง -0.58 และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.76 5.แบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีค่าความเชื่อมั่น 0.8168 0.7558 และ 0.8175 ส่วนค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.7967 6.เกณฑ์ปกติของแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีดังนี้ 6.1 ด้านความพอประมาณ ระดับดีมาก มีค่าคะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 33 คะแนนระดับดีมีค่าคะแนนรวมตั้งแต่ 26 ถึง 32 คะแนน ระดับปานกลางมีค่าคะแนนเท่ากับ 19 ถึง 25 คะแนน และระดับปรับปรุง มีค่าคะแนนรวมเท่ากับหรือน้อยกว่า 18 คะแนน 6.2ด้านความมีเหตุผล ระดับดีมาก มีค่าคะแนนรวม เท่ากับหรือมากกว่า 20 คะแนน ระดับดีมีค่าคะแนนรวมตั้งแต่ 17 ถึง 19 คะแนน ระดับปานกลางมีค่าคะแนนรวมตั้งแต่ 14 ถึง 16 คะแนน และระดับปรับปรุง มีค่าคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า 13 คะแนน 6.3ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ระดับดีมาก มีค่าคะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 58 คะแนน ระดับดีมีค่าคะแนนรวมตั้งแต่ 44 ถึง 57 คะแนน ระดับปานกลางมีค่าคะแนนรวมเท่ากับ 28 ถึง 43 คะแนน และระดับปรับปรุงมีค่าคะแนนรวมเท่ากับหรือน้อยกว่า 27 คะแนน
URI: http://202.29.33.134:8080/dspace/handle/123456789/1526
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
P0064-65.pdf302.96 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback