DSpace
 

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1509

Title: บทคัดย่อ : การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Authors: รัถยานภิศ พละศึก
Keywords: คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล
ตัวบ่งชี้
ประสิทธิภาพของตัวบ่งชี้
Issue Date: 8-May-2012
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ชี้วัดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1)กำหนดองค์ประกอบและคำบรรยายคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 2)จัดทำตัวบ่งชี้และเกณฑ์คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 3)ตรวจสอบความเป็นไปได้ และ4)ทดลองใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ชี้วัดผลการวิจัยปรากฏดังนี้ ตัวบ่งชี้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 5 ด้าน 90 ตัวบ่งชี้ คือ ด้านจริยธรรมพื้นฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ 35 หน่วย น้ำหนัก ด้านความรู้ความสามารถและทักษะทางการพยาบาลและผดุงครรภ์ 30 หน่วย น้ำหนัก ด้านทักษะเชาว์ปัญญา 15 หน่วยน้ำหนัก ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคล 10 หน่วยน้ำหนัก และด้านการสื่อสาร 10 หน่วยน้ำหนัก เกณฑ์ชี้วัดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดเป็น 4 ระดับ ระดับสูง ปานกลาง ต่ำ และต้องปรับปรุง ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ให้ความเห็นว่าตัวบ่งชี้และเกณฑ์ชี้วัดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมากถึงมากที่สุดที่จะนำไปใช้ ค่าความเที่ยงของตัวบ่งชี้โดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันของคะแนนคุณลักษณะบัณฑิตที่ประเมินโดยอาจารย์นิเทศและนักศึกษาที่ค่าสหสัมพัทธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.518) ค่าความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของตัวบ่งชี้โดยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างผลการประเมินทักษะที่จำเป็นกับคะแนนคุณลักษณะบัณฑิตที่ประเมินโดยอาจารย์นิเทศพบว่า มีค่าสหสัมพันธืในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.723) และค่าความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ที่ประเมินโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีค่าสหสัมพันธืในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.641) งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้ผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษานำตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้และดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
URI: http://202.29.33.134:8080/dspace/handle/123456789/1509
Appears in Collections:วิจัย

Files in This Item:

File Description SizeFormat
P0044.pdf234.4 kBAdobe PDFView/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback